• ไทย
    • English
  • English 
    • ไทย
    • English
  • Login
View Item 
  •   IR@RUTS
  • Faculty of Architecture
  • สาขาสถาปัตยกรรมและผังเมือง
  • Research Reports
  • View Item
  •   IR@RUTS
  • Faculty of Architecture
  • สาขาสถาปัตยกรรมและผังเมือง
  • Research Reports
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

รูปแบบที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะผ่านแผนที่ต้นไม้สู่ความเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา

The suitable model to increase the capability of using public space through the tree map to be a sustainable livable city of Songkhla municipality, Songkhla province

Thumbnail
View/Open
Full Text (8.544Mb)
Date
2021
Author
Nattaneeporn Noisangiam | ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม
Weerawat Ounsaneha | วีระวัฒน์ อุ่นเสน่หา
Chalat Tipakornkiat | ชลัท ทิพากรเกียรติ
Metadata
Show full item record
Abstract
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินศักยภาพพื้นที่โล่งสาธารณะและการคงอยู่ของพื้นที่ สีเขียวพื้นที่เทศบาลนครสงขลา โดยใช้ข้อมูลจากการจัดทำแผนที่ต้นไม้ พบว่า พื้นที่ที่มีพืชพรรณปกคลุม และพื้นที่พืชพรรณปกคลุมประปรายมากกว่าร้อยละ 50 โดยส่วนใหญ่เป็นเขตชุมชนที่ติดกับพื้นที่ส่วนราชการหรือมีพื้นที่สีเขียวธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเมืองและภาวะน่าสบายของเมือง ที่สำคัญยังเป็นพื้นที่ลดอุณหภูมิความร้อนในเขตเมือง แม้ในด้านการเข้าไปใช้บริการไม่สามารถเข้าถึงได้โดยตรงเหมือนพื้นที่สาธารณะสีเขียวทั่วไป แต่มีคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมแก่เมืองและชุมชนในบริเวณโดยรอบ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้พื้นที่ทั้งเพื่อพักผ่อนย่อนใจ ออกกำลังกาย และ การเสริมสร้างทัศนียภาพที่สวยงามให้กับเมือง สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีพืชพรรณปกคลุม มากกว่าร้อยละ 80 บริเวณย่านชุมชนแอดอัดที่มีอาคารหนาแน่น เป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์ที่ดินตามความหลากหลายซับซ้อนตามกิจกรรม ส่งผลให้อุณหภูมิโดยรอบบริเวณเขตชุมชนมีค่าอุณหภูมิในรอบปีช่วงเดือนเมษายน เฉลี่ยสูงถึง 39.42 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับพื้นที่โล่งหรือพื้นที่ร่มไม้ในบริเวณเดียวกัน ดังนั้น การจัดทำแผนที่ต้นไม้ ได้ข้อสรุปบ่งชี้ว่า ควรเพิ่มพื้นที่ร่มไม้ต่อพื้นที่เมืองให้มากขึ้นและนำกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนจะเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ความสบายเชิงความร้อนในเขตเมืองเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนในแต่ละพื้นที่เมือง ดังนั้น การวางมาตรการทางด้านผังเมืองเพื่อกำหนดขอบเขตเมืองและสัดส่วนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมรวมถึงสัดส่วนของพื้นที่ สีเขียวที่จะส่งเสริมให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดีและพอเพียงต้องความต้องการพื้นที่สาธารณะสีเขียวในอนาคต คำสำคัญ: พื้นที่สีเขียว ผู้มีส่วนได้เสีย
URI
https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/3804
Collections
  • Research Reports [70]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
Contact Us | Send Feedback
Theme by 
Atmire NV
 

 

Browse

All of IRCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjects

My Account

Login

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
Contact Us | Send Feedback
Theme by 
Atmire NV