การจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะนก แบบมีส่วนร่วมของชุมชนท่าข้าม ในเขตเทศบาลตำบลท่าข้าม อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
Municipal Solid Waste Management on Koh Nok by People’s Participation of Tha Kham Sub-district Municipality, Bang Pakong District, Chachoengsao Province
View/ Open
Date
2020Author
Jongporn Mahadlek | จงภร มหาดเล็ก
Piyawadee kingmala | ปิยะวดี กิ่งมาลา
Metadata
Show full item recordAbstract
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพพื้นที่ทั่วไปของเกาะนกและชุมชนโดยรอบ รวบรวมความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่รอบเกาะนกต่อปัญหาขยะมูลฝอยและการจัดการขยะที่เกิดขึ้น 2)ให้ความรู้กับชุมชนในการดูแลจัดการขยะมูลฝอย และสร้างเครือข่ายชุมชนที่มีศักยภาพในการดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณเกาะนกและชุมชนโดยรอบ และ 3) ส่งเสริมและประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่ายชุมชน ชุมชนและหน่วยงานรัฐในการร่วมทำกิจกรรมระดับพื้นที่ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนหมู่ที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยฯ แบบทดสอบวัดเจตคติต่อการจัดการขยะฯ แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมฯ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพพื้นที่เกาะนก เป็นเกาะธรรมชาติเกิดจากการทับถมของตะกอนดินสิ่งมีชีวิตได้พัฒนาเป็นระบบนิเวศป่าชายเลนที่ค่อนข้างสมบูรณ์ พืชส่วนใหญ่เป็นต้นโกงกาง ต้นแสมและต้นจาก ด้านทิศใต้เกาะถูกกัดเซาะ พื้นที่มีขยะมูลฝอยสะสมค่อนข้างมากจากการพัดมากับน้ำ พื้นที่ชุมชนใกล้เคียงเกาะนกคือหมู่ที่ 1 บ้านเรือนส่วนใหญ่อยู่กระจายกัน หนาแน่นบางพื้นที่ สภาพปัญหาขยะมูลฝอยมีน้อย ความคิดเห็นของชุมชนรอบเกาะนกต่อปัญหาขยะมูลฝอยฯ สรุปว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดขยะมูลฝอยคือ การพัดพาขยะมากับกระแสน้ำแล้วตกสะสม ผลการวัดเจตคติที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะนกและในชุมชนพบว่า อยู่ในระดับดี ผลการประเมินการมีส่วนร่วมฯอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความคิดเห็นผู้เข้าอบรมฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก การสร้างเครือข่ายชุมชนฯ มีสมาชิก 30 คน ร่วมกันเก็บขยะบนเกาะนกและในชุมชน 3) ผลการส่งเสริม ประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่ายชุมชน ชุมชนและหน่วยงานรัฐ พบว่า เทศบาลให้ความร่วมมือ สนับสนุนกิจกรรมกลุ่มเครือข่ายชุมชนฯ และเชิญชวนร่วมกิจกรรมด้านขยะมูลฝอย