การพัฒนารูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้และทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อสมรรถนะของนักบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
The Development of Causal Relationship Model of Knowledge Management and Professional Skills Affecting to Potential of Accountant in Digital Economy
View/ Open
Date
2020Author
Wariya Panprung | วริยา ปานปรุง
Tiwat Maneechote | ทิวัตถ์ มณีโชติ
Chatsarun Rodyim | ชัชสรัญ รอดยิ้ม
Nattapong Songneam | นัฐพงศ์ ส่งเนียม
Metadata
Show full item recordAbstract
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของการจัดการความรู้กับทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่มีต่อสมรรถนะของนักบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์ของการจัดการความรู้และทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อสมรรถนะของนักบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยโมเดลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ตัวแปรแฝงจำนวน 3 ตัวแปร ตัวแปรสังเกตได้จำนวน 13 ตัว ข้อมูลเชิงปริมาณเก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักบัญชีที่ทำงานในสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรี จำนวน 320 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยใช้มาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสมรรถนะของนักบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก (=3.83, S.D.=0.674) สมรรถนะทางการจัดการ (=3.86, S.D.=0.628) และสมรรถนะด้านเทคนิค (=3.89, S.D.=0.553) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square/df =1.708 ; GFI = 0.965; AGFI= 0.934; RMSEA=0.047; SRMR = 0.014)
ผลการวิจัยพบว่าการจัดการความรู้และทักษะทางวิชาชีพบัญชีมีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 1.28 ได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการจัดการความรู้ของนักบัญชีโดยมีอิทธิพลทางตรงในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ -0.42 และพบว่าสมรรถนะของนักบัญชีได้รับอิทธิพลทางอ้อมของการจัดการความรู้ผ่านทักษะทางวิชาชีพทางบัญชีโดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.758