การวิจัยและพัฒนาระบบการเลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดนครศรีธรรมราช
View/ Open
Date
2010Author
Ratchasak Chuaychuwong | ราชศักดิ์ ช่วยชูวงศ์
Metasu Chanrot | เมธาสุ จันทร์รอด
Somkid Chaipech | สมคิด ชัยเพชร
Sombut Sijan | สมบัติ ศรีจันทร์
Nantana Chauychuwong | นันทนา ช่วยชูวงศ์
Tanad Rattananupong | ถนัด รัตนานุพงศ์
Metadata
Show full item recordAbstract
การพัฒนาระบบการเลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดนครศรีธรรมราชเกษตรกรจะมีวิธีการเลี้ยง 3 ระบบ คือ การเลี้ยงแบบผูกล่าม การเลี้ยงแบบปล่อยฝูงและการเลี้ยงแบบขุนในคอกซึ่งทั้ง 3 ระบบที่ทำกันมากคือ การเลี้ยงแบบผูกล่าม และปล่อยฝูง สำหรับตลาดโคเนื้อในจังหวัดนครศรีธรรมราชนี้มีการดำเนินการอยู่ 2 แบบ คือ ตลาดโคมีชีวิตและตลาดโคชำแหละ การซื้อขายจะซื้อขายกันแบบเหมาตัวโดยการประเมินน้ำหนักด้วยสายตาและมีการต่อรองราคากัน การซื้อขายส่วนใหญ่จะซื้อขายกันในจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการส่งออกต่างจังหวัดก็จะมีพ่อค้าคนกลางเป็นผู้รวบรวมและส่งไปจำหน่ายในต่างจังหวัดและตลาดสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านสุขภาพโคเนื้อเกษตรกรได้รับคำแนะนำให้ทำการถ่ายพยาธิชนิดต่าง ๆ เช่น พยาธิใบไม้ในตับและพยาธิตัวกลม ส่วนการทำวัคซีนจะทำวัดซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยในกรณีที่มีการระบาดถ้าไม่มีการระบาดก็จะไม่ทำเนื่องจากจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเขตปลอดโรคและการให้อาหารข้นร่วมกับการถ่ายพยาธิต่อสมรรถภาพโคเนื้อ 2 กุล่ม คือ โคพื้นเมืองและโคลูกผสมพันธุ์กำแพงแสนโดยจะพบว่ามีผลทำให้การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักเพิ่มไม่แตกต่างกัน เนื่องจากโคได้รับอาหารหยาบเพียงพอและมีคุณภาพดีเกษตรกรรายย่อยให้กินหญ้าเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการเสริมอาหารใด ๆ เพราะถ้าเสริมอาหารจะทำให้ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น การศึกษาการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมในจังหวัดนครศรีธรรมราชจากพื้นที่ 23 อำเภอ เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมจำนวน 365 ราย เกษตรกรที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 93.70 เลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริมรายละ 3-4 ตัวร้อยละ 34.52 โคลูกผสมส่วนใหญ่ปรับปรุงพันธุ์มาจากโคพื้นเมืองด้วยวิธีการผสมเทียมร้อยละ 72.60 สายพันธุ์โคเนื้อที่นิยมเลี้ยงคือโคสายพันธุ์ลูกผสมชาร์โรเล่ส์ร้อยละ 56.44 เลี้ยงโคเนื้อลูกผสมมาแล้ว 6 ปีร้อยละ 42.74 ที่เลี้ยงเกิน 10 ปีมีเพียงร้อยละ 13.70 โดยเลี้ยงแบบผูกล่ามให้กินหญ้าที่งอกขึ้นเองตามธรรมชาติ ร้อยละ 99.45 ในการฆ่าชำแหละและการใช้ประโยชน์จากเนื้อโคในจังหวัดนครศรีธรรมราชโคที่นำมาฆ่าเพื่อชำแหละเป็นเนื้อโคเพื่อจำหน่าย หรือบริโภคได้แก่ โคพื้นเมืองในท้องถิ่นที่พ่อค้ารับซื้อจากเกษตรกร โคลูกผสมและโคชนที่ปลดระวางจากการชนแล้วหรือโคที่ชนแพ้จากสนามชนโคภายในจังหวัด การฆ่าโคส่วนใหญ่ดำเนินการโดยผู้นับถือศาสนาอิสลาม รับจ้างฆ่าโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายตัว ค่าใช้จ่ายในการนำโคเข้าฆ่าโรงฆ่าของเทศบาลรวมทั้งสิ้นประมาณ 493 บาทต่อตัว คุณค่าทางโภชนาของเนื้อโคที่ฆ่าชำแหละเพื่อจำหน่ายในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่เป็นโคพื้นเมืองและไม่ได้ผ่านการขุนจึงทำให้ปริมาณคลอเรสเตอรอลค่อนข้างต่ำ แสดงให้เห็นว่าเนื้อโคพื้นเมืองจัดเป็นเนื้อที่มีคลอเรสเตอรอลต่ำ ไม่มีผลเสียต่อผู้บริโภค การนำลูกโคนมเพศผู้มาใช้ในการผลิตเนื้อโคขุนซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทดแทนในกรณีที่ขาดแคลนโคเนื้อที่จะนำเข้ามาขุนเนื่องจากในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีการเลี้ยงโคนมจึงทำให้ลูกโคนมเพศผู้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบการเลี้ยงในจังหวัดนครศรีธรรมราชและสามารถส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อได้พัฒนาขีดความสามารถได้ดียิ่งขึ้น
Collections
- Research Reports [128]