การใช้ประโยชน์ของปรสิตเพื่อการเป็นหมายธรรมชาติในการจำแนกกลุ่มประชากรปลาน้ำจืดในภาคใต้ของประเทศไทย
The Application of parasites as biological tags fos freshwater fish population discrimination in soutern thailand
View/ Open
Date
2012Author
Theeawoot Lerssulthichawal | ธีรวุฒิ เลิศสุทธิชวาล
Naraid Suan-Yuk | นเรศ ซ่วนยุก
Nirattisai Petchsupa | นิรัติศัย เพชรสุภา
Watchariya Purivirojkul | วัชริยา ภูวิโรจน์กุล
Metadata
Show full item recordAbstract
การใช้ประโยชน์ของปรสิตเพื่อการเป็นหมายธรรมชาติในการจำแนก กลุ่มประชากรปลาน้ำจืดในแหล่งน้ำภาคใต้ของประเทศไทย ธีรวุฒิ เลิศสุทธิชวาล1 นเรศ ซ่วนยุก2 นิรัติศัย เพชรสุภา3 และวัชริยา ภูวิโรจน์กุล4 บทคัดย่อ การศึกษาการใช้ประโยชน์ของปรสิตเพื่อการเป็นหมายธรรมชาติในการจำแนกกลุ่มประชากรปลาได้ทำการลงพื้นที่สำรวจความหลากหลายชนิดและการแพร่กระจายของปลาในพื้นที่ลุ่มน้ำที่สำคัญทางภาคใต้ 4 แห่ง คือ ลุ่มน้ำตาปี ลุ่มน้ำปากพนัง ลุ่มน้ำปัตตานี และลุ่มน้ำโกลก รวมจุดเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 45 จุด รวบรวมตัวอย่างปลาน้ำจืด ได้ทั้งสิ้น 7 อันดับ (order) 19 วงศ์ (family) ได้แก่Cypriniformes ( วงศ์), Elopiformes ( วงศ์), Osteoglossiformes( วงศ์), Perciformes ( วงศ์), Siluriformes( วงศ์) , Synbranchiformes( วงศ์) และ Tetraodontiformes ( วงศ์) รวมทั้งหมด 55 ชนิด ส่วนของปรสิตพบว่าตัวอย่าง พบ 7 กลุ่ม 39 ชนิดคือ Ciliophora1 ชนิด,Myxozoa 1 ชนิด, Monogenea 33 ชนิด,Digenea 1 ชนิด, Cestoda 1 ชนิด, Nematoda 1 ชนิด,Acanthocephala 1 ชนิด ปรสิตกลุ่ม Monogenea จะพบปริมาณมากที่สุด โดยเฉพาะสกุล Dactylogyrus จะมีสมาชิกมากที่สุด ( 10 ชนิด) และพบในปลาหลากหลายที่สุด (10 ชนิด) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่เก็บตัวอย่าง พบว่า ลุ่มน้ำปากพนังมีการแพร่กระจายของปรสิตมากที่สุดรองลงมาคือ ลุ่มน้ำตาปี ลุ่มน้ำปัตตานี และลุ่มน้ำโกลก จากการศึกษาชนิดและการแพร่กระจายของปรสิตในปลาที่ศึกษาเหล่านี้ สามารถระบุได้ชัดเจนว่าปรสิตกลุ่มโมโนจีเนียน (Monogenea) เป็นกลุ่มที่มีความเหมาะสมที่สุดในการเป็นหมายธรรมชาติ เนื่องจากมีความหลายหลายทางชีวภาพสูง มีความจำเพาะเจาะจงสูง และปรากฏในปลาเจ้าบ้านอย่างสม่ำเสมอ คำสำคัญ:ปลาน้ำจืด ปรสิตสัตว์น้ำ หมายธรรมชาติ กลุ่มประชากรปลา
Collections
- Research Reports [128]