การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งยางพาราแผ่นสภาวะเรือนกระจก
View/ Open
Date
2015Author
Thanwit Naemsai | ฐานวิทย์ แนมใส
Anek Thaikul | อเนก ไทยกุล
Jaruwat Jareanjit | จารุวัฒน์ เจริญจิต
Metadata
Show full item recordAbstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการอบแห้งยางพาราแผ่นโดยใช้เครื่องอบแห้งสภาวะเรือนกระจก ซึ่งเปรียบเทียบลักษณะของห้องภายในที่สร้างด้วย 2 วัสดุซึ่งประกอบไปด้วยแผ่นอะครีลิคและแผ่นอะลูมิเนียม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงแบ่งกรณีศึกษาเป็น 2 กรณี คือ กรณีอบแห้งโดยใช้แผ่นอะครีลิคเป็นห้องอุ่นอากาศ และกรณีอบแห้งโดยใช้แผ่นอะลูมิเนียมเป็นห้องอุ่นอากาศ เครื่องอบแห้งที่ใช้งานจะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมด้านเท่าและปกคลุมด้วยแผ่นโพลีคาร์บอเนต ทั้งสองกรณีต้องเปรียบเทียบการอบแห้งยางพาราแผ่นกับการตากแดดโดยตรง โดยใช้หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบของอัตราส่วนความชื้นเพื่อดูลักษณะการลดลงของความชื้นที่เกิดขึ้นเป็นตัวประเมินผลว่ากรณีไหนดีที่สุด ซึ่งทั้ง 2 กรณีนั้นจะทดลองเพื่อหาข้อเปรียบเทียบสำหรับการทดลองนั้นจะทำการทดลองการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และการตากแดดโดยตรงพร้อมกัน รูปแบบละ 3 ครั้งซึ่งแต่ละครั้งการทดลองนั้นจะใช้แผ่นยางดิบจำนวน 8 แผ่นและตากแดดโดยตรง 1 แผ่นเป็นเวลา 4 วันโดยในแต่ละวันจะใช้เวลาในการอบแห้งจำนวน 7 ชั่วโมง จากนั้นบันทึกค่าอุณหภูมิและน้ำหนักยางพาราแผ่น จากผลการทดลองพบว่ากรณีอบแห้งโดยใช้แผ่นอะลูมิเนียมเป็นห้องอุ่นอากาศเป็นรูปแบบที่ดีที่สุด ใช้เวลาในการอบแห้งจำนวน 3 วันซึ่งทำให้ยางพาราแผ่นมีความชื้นน้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ฐานแห้ง นอกจากนี้งานวิจัยนี้จะวิเคราะห์พลังงานและเอกเซอร์จีที่เกิดขึ้นภายในเครื่องอบแห้งชนิดสภาวะเรือนกระจกเพื่อค้นหาอิทธิพลของการพาความร้อนอิสระที่มีต่อกระบวนการอบแห้งยางพารา ผลการวิเคราะห์พบว่าอิทธิพลของการพาความร้อนอิสระมีนัยสำคัญต่อกระบวนการอบแห้งยาพารางแผ่น เนื่องจากค่าประสิทธิภาพของการอบแห้งของระบบเพิ่มขึ้น 6 % ค่าประสิทธิภาพการสะสมความชื้นของการอบแห้งเพิ่มขึ้น 5 % ขณะที่ค่าประสิทธิ์ภาพเอ็กเซอร์จีเฉลี่ยมีค่าลดลง 4% เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องอบแห้งที่ไม่มีการพาความร้อนอิสระ คำสำคัญ : การวิเคราะห์พลังงานและเอกเซอร์จี การพาความร้อนอิสระ เครื่องอบแห้งยางพาราแผ่น
Collections
- Research Reports [47]