การพัฒนากระเบื้องยางปูพื้นลดแรงกระแทก สำหรับใช้งานในบ้านพักผู้สูงอายุ และทดแทนกระเบื้องยางปูพื้นที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน
Development of Shock Absorption Floor Tiles for Utilizing in Eldercare Home and Replacing the Rubber Floor Tiles Mixing Asbestos
View/ Open
Date
2020Author
Chatree Homkhiew | ชาตรี หอมเขียว
Worapong Boonchouytan | วรพงค์ บุญช่วยแทน
Thanwit Naemsai | ฐานวิทย์ แนมใส
Ekkawit Pianhanuruk | เอกวิทย์ เพียรอนุรักษ์
Metadata
Show full item recordAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของปริมาณสารคลอริเนตพอลิเอทิลีนต่อสมบัติทางกลและทางกายภาพของพอลิ เมอร์ผสม และมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาพอลิเมอร์ผสมในงานวิจัยนี้เป็นแผ่นกระเบื้องยางปูพื้น ในการผลิตพอลิเมอร์ผสมดําเนินการผสม ส่วนผสมต่าง ๆ โดยใช้เครื่องอัดรีดแบบเกลียวคู่ และขึ้นรูปเป็นแผ่นชิ้นงานตัวอย่างโดยใช้เครื่องอัดร้อน ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ความ แปรปรวนชี้ให้เห็นว่า การเติมสารคลอริเนตพอลิเอทิลีนปริมาณ 0-30 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก มีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญ (P<0.05) ต่อค่าความแข็งแรงดึง ค่ามอดูลัสการดึง ค่าความเครียดสูงสุด ค่าความแข็ง และค่าการยุบตัวของพอลิเมอร์ผสม เมื่อเติมสารคลอริเนต พอลิเอทิลีนเป็นส่วนผสมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่ามอดูลัสการดึง ค่าความแข็ง ค่าการสูญเสียน้ําหนัก และค่าการยุบตัวของพอลิเมอร์ผสม เพิ่มขึ้น แต่ค่าความแข็งแรงดึง ค่าความเครียดสูงสุดกลับมีค่าลดลงตามปริมาณสารคลอริเนตพอลิเอทิลีน ขณะเดียวกันยังพบด้วยว่า พอลิเมอร์ผสมมีค่ามอดูลัสการดึง ค่าความแข็ง และค่าการยุบตัวสูงกว่าพลาสติกพอลิไวนิลคลอไรด์ นอกจากนี้พบด้วยว่า พอลิเมอร์ ผสมที่เติมสารคลอริเนตพอลิเอทิลีน 10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก มีสมบัติทางกลและทางกายภาพดีกว่ากระเบื้องยางปูพื้นของบริษัท A
Collections
- Research Reports [155]