การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการวัสดุเหลือทิ้งในชุมชนอย่างยั่งยืน
Development of Sustainable Community Waste Management Database
View/ Open
Date
2020Author
Ketsara Phetkrachang | เกสรา เพชรกระจ่าง
Nongnard Rawangwong | นงนาฎ ระวังวงศ์
Sittichok Aunkaew | สิทธิโชค อุ่นแก้ว
Siranuch Hemtanon | สิรนุช เหมทานนท์
Metadata
Show full item recordAbstract
ข้อมูลในการบริหารจัดการวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน ยังคงเป็นปัญหาให้กับภาครัฐ ในการจัดการวัสดุเหลือทิ้ง เนื่องจาก วัสดุเหลือทิ้งบางอย่างสามารถนํามาแปรรูป และ นํากลับมาใช้ใหม่ได้ หรือ ผลิตออกมาเป็นปุ๋ย ซึ่งกระบวนการดังกล่าว ช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมให้กับภาครัฐ ตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีจํานวนวัสดุเหลือทิ้งเฉลี่ยปีละ 20 กว่า ล้านตัน แต่กลับมีจํานวนวัสดุที่แปรรูปนํากลับไปใช้ใหม่ ไม่เท่ากับจํานวนทั้งหมด จนกลายเป็นวัสดุเหลือทิ้งที่ตกค้างตาม ชุมชนต่าง ๆ ผู้วิจัยจึงนําเสนอ กรอบแนวคิด ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการวัสดุเหลือทิ้งแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อย่างยั่งยืน ชุมชนต้นแบบ เทศบาลเมืองเขารูปช้าง ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนําเสนอกรอบ แนวคิด สําหรับการบริหารจัดการวัสดุเหลือทิ้งในชุมชนอย่างยั่งยืน ศึกษาปัญหาการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน และ ศึกษาวิธีการบริหารจัดการและการออกแบบการรวบรวมข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน โดยกรอบแนวคิดการพัฒนาระบบ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) ขบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุเหลือทิ้งในชุมชนอย่างเป็นระบบ เพื่อ สนับสนุนและติดตามระบบสารสนเทศการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน และ ขบวนการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ เดียวกัน หรือการเติมข้อมูลที่ขาดหายไปเพื่อการบริหารจัดการ 2) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการ CRISP-DM 3) การนําผลลัพธ์เกี่ยวกับการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในชุมชนไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ จากการทดลองเบื้องต้นแสดงให้เห็น ว่า ระบบการบริหารจัดการวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน ตามกรอบแนวคิด สามารถนําข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงและเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทํางานร่วมกันอย่างยั่งยืน ชุมชนมีส่วนร่วม และ ลดปริมาณวัสดุเหลือทิ้งได้อย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งช่วยลด ปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Collections
- Research Reports [21]