การดัดแปลงใยอาหารจากมันสำปะหลังเพื่อลดโลหะหนัก โดยการประเมินการยับยั้งชีวภาพพร้อมใช้
Modification of Dietary Fiber from Cassava Pulp to Reduce Heavy Metal by Assessing Their Heavy Metal Bioaccessibility Inhibition
View/ Open
Date
2020Author
Natta Kachenpukdee | นัฏฐา คเชนทร์ภักดี
Ratchadaporn Oonsivilai | รัชฏาภรณ์ อุ่นศิริวิไลย์
Metadata
Show full item recordAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการดัดแปลงใยอาหารจากกากมันสำปะหลังและผลต่อการยับยั้งชีวภาพพร้อมใช้ในโลหะหนัก การเตรียม MDF (ใยอาหารดัดแปลง) จากกากมันสำปะหลังเริ่มจากการแยกแป้งและโปรตีนด้วยเอนไซม์เพื่อเตรียมใยอาหารหยาบ (CDF) ด้วยแอลฟาอะมัยเลส 1% (w/v) อะมัยโลกลูโคซิเดส 0.1% (v/v) และ นิวเทรส 1% (v/v) จากนั้นดัดแปลง CDF ด้วย 4 วิธี ได้แก่ วิธีเอสเทอริฟิเคชั่น ฮาโลจีเนชั่น ออกซิเดชันและอีเทอริฟิเคชั่น ผลการทดลองพบว่าการดัดแปลง CDF สามารถปรับปรุงคุณสมบัติในการจับกับโลหะหนักได้ โดย MDF มีปริมาณ neutral detergent fiber (NDF) acid detergent fiber (ADF) acid detergent lignin (ADL) เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส โปรตีน ไขมัน ความชื้นและแป้งมากกว่าใน CDF นอกจากนี้คุณสมบัติเชิงหน้าที่ของ MDF มีค่าความสามารถในการอุ้มน้ำ ความสามารถในการจับกับน้ำมัน ความสามารถในการละลายน้ำ ค่าการพองตัว และกลุ่มคาบอกซิลมากกว่า CDF
นอกจากนั้นศึกษาผลของ MDF จาก 4 วิธี ต่อชีวภาพพร้อมใช้ของตะกั่วด้วยแบบจำลองการย่อยอาหาร พบว่า MDF จากทุกวิธีสามารถลดชีวภาพพร้อมใช้ของตะกั่วได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อใช้ MDF ปริมาณ 0-1000 mg (p < 0.05) โดยลดลง 25-80% ที่ 1000 mg ให้ผลดีที่สุด และ MDF จากวิธีอีเทอริฟิเคชั่นสามารถยับยั้งได้ดีกว่าวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในทุกระดับของใยอาหารที่ใช้ จึงสรุปได้ว่า MDF ที่ได้จากการดัดแปลงด้วยวิธีอีเทอริฟิเคชั่นสามารถลดชีวภาพพร้อมใช้ของตะกั่ว และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้