Show simple item record

Analysis of Hard Clam (Meretrix casta, Chemnitz, 1782) Conservation Network in Palian Watershed, Trang Province

dc.contributor.authorNatthita Rojchanaprasart | ณัฐทิตา โรจนประศาสน์en_US
dc.contributor.authorChanyut Sudthongkong | ชาญยุทธ สุดทองคงen_US
dc.contributor.authorPrasert Tongnunui | ประเสริฐ ทองหนูนุ้ยen_US
dc.date.accessioned2020-08-28T02:58:03Z
dc.date.available2020-08-28T02:58:03Z
dc.date.issued2020
dc.identifier.issn2673-0197
dc.identifier.urihttps://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/1031
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อวิเคราะห์เครือข่ายอนุรักษ์หอยปะในลุ่มน้ำปะเหลียน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกเครือข่ายอนุรักษ์หอยปะใน 2 ชุมชน คือ บ้านหินคอกควาย และบ้านทุ่งตะเซะ จำนวน 34 และ 39 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มีค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้อง (IOC=0.67-1.00) โครงสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกเครือข่ายอนุรักษ์หอยปะได้ทดสอบผลต่างของค่าความเป็นศูนย์กลาง ด้วย Permutation t-test พบว่า เครือข่ายอนุรักษ์หอยปะบ้านหินคอกควาย และเครือข่ายอนุรักษ์หอยปะและป่าชายเลนบ้านทุ่งตะเซะ มีค่า degree centrality (mean =0.651 และ 0.676 ตามลำดับ) ค่า betweenness centrality (mean=0.011 และ 0.009 ตามลำดับ) และค่า closeness centrality (mean=0.749 และ 0.775 ตามลำดับ) ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p-value=0.62, 0.37 และ 0.32 ตามลำดับ) แสดงว่า สมาชิกของแต่ละเครือข่ายมีกิจกรรมการติดต่อสื่อสารพูดคุยเรื่องข้อมูลข่าวสารในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์หอยปะในระดับที่ไม่แตกต่างกัน รวมถึงทั้ง 2 เครือข่าย มี node ที่เป็นตัวผ่านในการติดต่อสื่อสารระหว่าง node แต่ละคู่นั้นเป็นตัวกระจายข้อมูลข่าวสารและสามารถควบคุมการติดต่อสื่อสารภายในเครือข่ายได้ในระดับที่ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้มี node ที่สามารถติดต่อสื่อสารกับ node อื่นๆ ที่เหลือในเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในระดับที่ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้สมาชิกเครือข่ายที่มีกิจกรรมการติดต่อสื่อสารมาก และมีอิทธิพลในการควบคุมการไหลของข้อมูลข่าวสารภายในเครือข่ายสูง สำหรับเครือข่ายอนุรักษ์หอยปะบ้านหินคอกควาย คือ H7, H2, H14 โดย H7 เพศหญิง เป็น เครือข่ายสูง สำหรับเครือข่ายอนุรักษ์หอยปะบ้านหินคอกควาย คือ H7, H2, H14 โดย H7 เพศหญิง เป็นเลขานุการ มีบทบาทในการติดต่อประสานงานกับสมาชิกเครือข่ายทุกคน จดบันทึกการประชุม และร่วมทำกิจกรรมของเครือข่าย H2 เพศชาย เป็นประธานเครือข่ายที่เป็นทางการ (ผู้ใหญ่บ้าน) มีบทบาทในการกำหนดแนวทางการอนุรักษ์หอยปะ จัดหางบประมาณใช้ในการอนุรักษ์หอยปะ เฝ้าระวังหอยปะไม่ให้เรือเข้ามาคราดหอยปะในเขตอนุรักษ์ H14 เพศชาย เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของเครือข่าย ส่วนเครือข่ายอนุรักษ์หอยปะและป่าชายเลนบ้านทุ่งตะเซะ คือ T1, T33, T34, T32 โดย T1 เพศชาย เป็นประธานเครือข่ายแบบธรรมชาติ (อดีตผู้ใหญ่บ้าน) มีบทบาทในการวางแนวทางการอนุรักษ์หอยปะและป่าชายเลน จัดหางบประมาณทำศูนย์อนุรักษ์หอยปะ ทำถนนเข้าศูนย์ฯ และประสานกับภาครัฐในระดับตำบล รวมถึงระดับอำเภอ และจังหวัด เมื่อเกิดความขัดแย้งที่เรือของชุมชนใกล้เคียงเข้ามาคราดหอยปะในเขตอนุรักษ์ T33 เพศชาย เป็นที่ปรึกษา มีบทบาทในการจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนให้กับบุคคลภายนอกที่เข้ามาศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลน T34 เพศชาย เป็นสมาชิกสภาเทศบาล T32 เพศหญิง ทั้ง T34 และ T32 เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของเครือข่ายen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherRajamangala University of Technology Srivijayaen_US
dc.subjectการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมen_US
dc.subjectการอนุรักษ์en_US
dc.subjectหอยปะen_US
dc.subjectลุ่มน้ำปะเหลียนen_US
dc.subjectตรังen_US
dc.subjectConservation Networken_US
dc.titleการวิเคราะห์เครือข่ายอนุรักษ์หอยปะในลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรังen_US
dc.titleAnalysis of Hard Clam (Meretrix casta, Chemnitz, 1782) Conservation Network in Palian Watershed, Trang Provinceen_US
dc.typeResearch Articleen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record