การออกแบบและสร้างชุดการทดลองการแทรกสอดของเสียงภายในท่อร่วมกับแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน
Design and Construction of Sound Interference within Tube and Smartphone Application
dc.contributor.author | Nattakamol Kamma | ณัฐกมล คำมา | en_US |
dc.contributor.author | Kitsana Kitsanakarn | กฤษณา กฤษณกาฬ | en_US |
dc.contributor.author | Udomsak Kitthawee | อุดมศักดิ์ กิจทวี | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-28T03:58:34Z | |
dc.date.available | 2020-08-28T03:58:34Z | |
dc.date.issued | 2020 | |
dc.identifier.issn | 2673-0197 | |
dc.identifier.uri | https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/1035 | |
dc.description.abstract | บทความนี้นำเสนอชุดทดลองการแทรกสอดของคลื่นเสียงโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาชุดทดลองการแทรกสอดของเสียงได้อย่างถูกต้องตรงตามทฤษฎีเรื่อง การแทรกสอดของเสียงใช้แอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน(Hoel Boedec)สร้างคลื่นเสียงที่มีความถี่เสียง ในช่วง 600-1200 เฮิรตซ์ โดยชุดทดลองสร้างจากท่อ PVC สามารถปรับเปลี่ยนให้มีความยาวของท่อเพื่อศึกษาค่าผลต่างของทางเดินเสียง (path difference) ระหว่างคลื่นเสียงสองขบวน เมื่อนำชุดทดลองไปทดสอบหาค่าความยาวคลื่นเสียงที่อุณหภูมิห้อง โดยสังเกตจากการแทรกสอดของเสียงแบบเสริมกันผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน(Advanced spectrum Analyzer PRO) เมื่อปล่อยความถี่ที่ 600-1200 เฮิรตซ์ โดยมีค่าที่วัดความถี่ได้จาก smartphones คือ 602, 710, 796, 904, 1000, 1100 และ 1200 เฮิรตซ์ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยเป็น 7.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการแทรกสอดแบบหักล้างกันผ่านสมาร์ตโฟน ซึ่งปล่อยความถี่เช่นเดียวกับการแทรกสอดแบบเสริมและมีค่าที่วัดความถี่ได้จาก smartphones เท่ากัน โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยเป็น 12.8 เปอร์เซ็นต์ และจากผลการทดลองพบว่า ความถี่จะแปรผกผันกับความยาวคลื่น สาเหตุที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนอาจเกิดจากเครื่องปล่อยความถี่ไม่ได้ปล่อยความถี่ตามที่กำหนด และเครื่องรับสัญญาณความถี่มีคลื่นเสียงจากภายนอกรบกวนจึงส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ จากที่กล่าวมาข้างต้นเมื่อความถี่เพิ่มขึ้น ความยาวคลื่นจะลดลง ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยในครั้งนี้โรงเรียนควรนำชุดทดลองการแทรกสอดของเสียงนี้ไปเป็นต้นแบบเพื่อผลิตขึ้นใช้ได้เองในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ เนื่องจากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถจัดหาได้ง่าย มีวิธีการสร้างไม่ยุ่งยากซับซ้อน และให้ผลการทดลองชัดเจน | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Rajamangala University of Technology Srivijaya | en_US |
dc.subject | การแทรกสอดแบบเสริมกัน | en_US |
dc.subject | คลื่นเสียง | en_US |
dc.subject | สมาร์ตโฟน | en_US |
dc.subject | ชุดทดลอง | en_US |
dc.subject | Application | en_US |
dc.title | การออกแบบและสร้างชุดการทดลองการแทรกสอดของเสียงภายในท่อร่วมกับแอปพลิเคชันสมาร์ตโฟน | en_US |
dc.title | Design and Construction of Sound Interference within Tube and Smartphone Application | en_US |
dc.type | Research Article | en_US |