ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากส่วนต่าง ๆ ของหม่อน ที่มีผลต่อการยับยั้งเชื้อราที่คัดแยกได้จากใบทุเรียน
The Study of the Use of Some Morus alba Linn. Extract Against Fungi Isolated From Durian Leaves.
View/ Open
Date
2019Author
Jeeranan Klomnara Kaewraksa | จีรนันท์ กล่อมนรา แก้วรักษา
Metadata
Show full item recordAbstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบที่สกัดจากส่วนต่าง ๆ ของหม่อนที่มีผลต่อการยับยั้งเชื้อราที่คัดแยกได้จากใบทุเรียน โดยสามารถคัดแยกเชื้อราจากใบทุเรียน จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ เชื้อรา Phyllosticta sp. และ Colletotrichum sp. การสกัดสารสกัดหยาบจากใบ ผล รากและลำต้นของหม่อน ด้วยตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 เและเฮกเซน พบว่าร้อยละของสารสกัดต่อน้ำหนักแห้งที่สกัดด้วยเอทานอล ความเข้มข้นร้อยละ 95 เท่ากับ 17.45, 21.53, 5.52 และ 5.51 กรัม ตามลำดับ และร้อยละของสารสกัดต่อน้ำหนักแห้งที่สกัดด้วยเฮกเซน เท่ากับ 18.35, 29.29, 4.67 และ 4.67 กรัม ตามลำดับ จากนั้นทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดด้วยวิธี Paper Disc Diffusion ที่ระดับความเข้มข้น 300, 600 และ 900 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่าสารสกัดจากผล ราก และลำต้น ของหม่อนที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอความเข้มข้นร้อยละ 95 สามารถยับยั้งเชื้อรา Phyllosticta sp. ที่ระดับความเข้มข้น 600 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส เท่ากับ 1.29 ± 1.13, 1.86± 0.49 และ 2.87 ± 0.29 มิลลิเมตร ตามลำดับ มีร้อยละการยับยั้งดีที่สุดเท่ากับร้อยละ 35.07 – 82.09 ส่วนสารสกัดจากรากและลำต้นของหม่อนที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 95 สามารถยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum sp. ที่ระดับความเข้มข้น 600 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส เท่ากับ 2.37± 0.73 และ 1.86± 1.03 มิลลิเมตร ตามลำดับ มีร้อยละการยับยั้งดีที่สุดเท่ากับร้อยละ 10.10 – 24.24 ส่วนสารสกัดที่สกัดจากใบหม่อนไม่มีการยับยั้งเชื้อรา ผลของสารสกัดที่สกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซนของหม่อนไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราทั้ง 2 ชนิด