Show simple item record

Formulating of Fruit Coating Wax by Using Fat from Palm Oil Industrial Wastewater as Raw Materials

dc.contributor.authorJuthamanee Sangsawang | จุฑามณี แสงสว่างen_US
dc.contributor.authorOnanong Phewnil | อรอนงค์ ผิวนิลen_US
dc.contributor.authorkasem Chunkao | เกษม จันทร์แก้วen_US
dc.contributor.authorPaiboon Prabuddham | ไพบูลย์ ประพฤติธรรมen_US
dc.contributor.authorSaranya Khunandilok | ศรันยา คุณะดิลกen_US
dc.contributor.authorWallop Arirop | วัลลภ อารีรบen_US
dc.date.accessioned2020-09-02T03:08:38Z
dc.date.available2020-09-02T03:08:38Z
dc.date.issued2019
dc.identifier.issn2673-0197
dc.identifier.urihttps://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/1070
dc.description.abstractไขมันที่แยกได้จากน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์มถูกแยกออกมาโดยการหมุนเหวี่ยง ในอัตราส่วนระหว่างน้ำเสียต่อกรดอะซิติก 5% เท่ากับ 3:1 ความเร็ว 3,000 รอบต่อนาที เป็นเวลา 15 นาที ได้ส่วนผสมที่แยกตัวออกเป็น ชั้นบนสุด คือ ชั้นไขมัน ชั้นกลาง คือ ชั้นของเหลว และชั้นล่างสุด คือ ชั้นตะกอน นำไขมันชั้นบนสุดออกมาทำความสะอาดโดยการหมุนเหวี่ยงในอัตราส่วนไขมันต่อน้ำเปล่า เท่ากับ 1:1 ความเร็ว 3,000 รอบต่อนาที เป็นเวลา 15 นาที 3 ซ้ำ นำส่วนผสมที่แยกชั้นแล้วแช่เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส แยกไขมันที่ทำความสะอาดแล้วออกมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไขเคลือบผลไม้ (TH-ENV wax) ความเข้มข้นของเหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) ลดลงเมื่อหมุนเหวี่ยง แต่ความเข้มข้นของทองแดง (Cu) และอลูมิเนียม (Al) เพิ่มขึ้น เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) ทองแดง (Cu) และสังกะสี (Zn) ในไขมันที่ทำความสะอาดแล้วเมื่อเปรียบเทียบกับในไขมันที่แยกได้ก่อนทำความสะอาด มีความเข้มข้นลดลงอย่างมากโดยเหล็กลดลง 65.34% แมงกานีสลดลง 67.99% ทองแดง ลดลง 69.73%และสังกะสีลดลง 25.64% ส่วนอลูมิเนียมไม่ถือว่าเป็นโลหะหนักที่มีพิษ นำไขมันที่ผ่านการล้างทำความสะอาดมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไขเคลือบผลไม้ TH-ENV wax ที่มีส่วนผสม ได้แก่ ไขมันที่แยกได้จากน้ำเสีย 30% สารสกัดใบสาบเสือ 5% แป้งท้าวยายม่อมละลายน้ำในอัตราส่วน 3:1 10% ไคโตซาน 5% น้ำ 50% และเติม Triton X-100 จำนวน 10 หยด ต่อส่วนผสม 200 มิลลิลิตร เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของ TH-ENV wax ต่อการยับยั้งการสุกงอมของตัวอย่างกล้วย โดยศึกษาค่าเฉลี่ย CO2 และค่าเฉลี่ย C2H4ที่ตัวอย่างกล้วยปลดปล่อยออกมาใน 1 ชั่วโมงทั้งกล้วยที่มีระยะการจัดเก็บทั้ง 1 วัน 3 วัน และ 5 วัน ผลจากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการยับยั้งการปลดปล่อย CO2และ C2H4ของ TH-ENV wax ไม่แตกต่างจาก Commercial wax อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01เมื่อจัดเก็บไว้ 5 วัน มีการเสื่อมสภาพ มีการเปลี่ยนแปลงสีเปลือกผิวเปลือกและการเพิ่มขึ้นของความนิ่มของเนื้อผลไม้มากขึ้นในกล้วยที่เคลือบด้วย TH-ENV wax ส่วนกล้วยที่เคลือบด้วย commercial waxยังไม่เริ่มเสื่อมสภาพ ส่วนกล้วยที่ไม่ได้เคลือบด้วย coating wax เริ่มเสื่อมสภาพในวันที่ 3en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherRajamangala University of Technology Srivijayaen_US
dc.subjectน้ำมันปาล์มen_US
dc.subjectปาล์มen_US
dc.subjectน้ำเสียen_US
dc.subjectไขมันen_US
dc.subjectไขเคลือบผลไม้en_US
dc.subjectPalm Oilen_US
dc.titleไขเคลือบผลไม้ย่อยสลายได้ที่ผลิตจากไขมันที่แยกได้ จากน้ำเสียอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันปาล์มen_US
dc.titleFormulating of Fruit Coating Wax by Using Fat from Palm Oil Industrial Wastewater as Raw Materialsen_US
dc.typeResearch Articleen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record