การวิเคราะห์ศักยภาพของไม้ประดับเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้อาคาร
The Performance Analysis of Indoor Plants for Human Wellbeing of Occupants
dc.contributor.author | Tachaya Sangkakoo | ทัชชญา สังขะกูล | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-03-30T08:06:03Z | |
dc.date.available | 2020-03-30T08:06:03Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.identifier.uri | https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/145 | |
dc.description.abstract | การปลูกพืชในอาคารส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีภายในอาคาร ช่วยลดอาการเจ็บป่วยจากการใช้งานอาคารในพื้นที่เดิมเป็นประจำ สีเขียวจากต้นไม้ซึ่งมีต้นกำเนิดจากใบพืชช่วยลดความตึงเครียดในการทำงานและช่วยในการพักสายตา วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาศักยภาพของการนำไม้ประดับมาใช้สำหรับอาคารสำนักงานโดยการวิเคราะห์จากผู้ใช้อาคาร ประชากร ผู้ใช้สอยในอาคารสำนักงานในหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 100 คน จำนวน 5 สำนักงาน เก็บตัวอย่างโดยการทำแบบสอบถาม พืชที่ใช้ศึกษาในงานวิจัยคือ พลูด่างสีทอง เป็นพืชในร่มทนทาน และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่แสงน้อย เช่น ห้องสำนักงาน และพื้นที่โถงทางเดิน ลักษณะเด่น คือ ใบสีเขียวอมเหลือง ใบเป็นรูปหัวใจ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารในแจกันหรือในกระถาง และเป็นพืชที่ดูดสารพิษได้ดี เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ จากผลการวิเคราะห์พบว่าบริเวณห้องทำงานมีการนำต้นไม้มาประดับในอาคารมากที่สุดถึง 53% รองลงมาคือระเบียงภายนอกอาคาร 25.5% และพบว่าตำแหน่งการนำต้นไม้มาประดับในอาคารคือ พื้นทางเดิน 51.9% รองลงมาคือโต๊ะทำงาน 42.5% และต้นไม้ที่นิยมนำมาวางประดับในสำนักงานมากที่สุดคือ ต้นพลูด่าง 12% รองลงมาคือ กระบองเพชร 5% ดังนั้นการวิเคราะห์ศักยภาพของไม้ประดับโดยผู้ใช้อาคารในอาคารสำนักงานถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ และสนับสนุนให้เกิดการนำไปใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้นในหน่วยงาน และชุมชน องค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการปลูกพืชในอาคารและเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพที่ดีแก่ผู้ใช้อาคาร และจากการศึกษาผลของอุณหภูมิที่มีการนำต้นพลูด่างมาประดับในอาคารพบว่าในช่วงกลางวันต้นพลูด่างพุ่มสูงสามารถลดอุณหภูมิได้มากกว่าต้นพลูด่างพุ่มเตี้ย คือ 1.11°C และ 0.76 °C ตามลำดับ และในช่วงกลางคืนพบว่าต้นพลูด่างพุ่มสูงก็สามารถลดอุณหภูมิได้มากกว่าต้นพลูด่างพุ่มเตี้ยเช่นเดียวกัน คือ 1.24 °C และ 0.55 °C ดังนั้นจากงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าการนำต้นไม้มาประดับในอาคารจะสามารถช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารได้ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Rajamangala University of Technology Srivijaya | en_US |
dc.subject | พืชในอาคาร | en_US |
dc.subject | ไม้ประดับ | en_US |
dc.subject | อาคารสํานักงาน | en_US |
dc.subject | ห้องทํางาน | en_US |
dc.subject | Indoor plant | en_US |
dc.subject | Golden Pothos | en_US |
dc.subject | Corridor | en_US |
dc.subject | Office Area | en_US |
dc.subject | Human well being | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์ศักยภาพของไม้ประดับเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้อาคาร | en_US |
dc.title | The Performance Analysis of Indoor Plants for Human Wellbeing of Occupants | en_US |
dc.type | Research Reports | en_US |
Files in this item
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [70]
รายงานการวิจัย