การวิเคราะห์ผลทางด้านเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวกลุ่ม 3 จังหวัด
Economic Impact from 3 Clustering Province of Tourism Industry Analysis
dc.contributor.author | Piya Pechsong | ปิยะ เพชรสงค์ | en_US |
dc.contributor.author | Kiatkajon Chairat | เกียรติขจร ไชยรัตน์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-01-15T03:29:26Z | |
dc.date.available | 2021-01-15T03:29:26Z | |
dc.date.issued | 2012 | |
dc.identifier.uri | https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/2008 | |
dc.description.abstract | ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต 3 จังหวัดภาคใต้ ที่จัดทำขึ้นเป็นตารางที่สามารถแสดงให้เห็นภาพความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันระหว่างสาขาหรือกิจกรรมการผลิตต่างๆ ได้ ที่มีขนาด 16 กิจกรรมการผลิต โดยตาราง I/O ระดับจังหวัดนั้นจะแสดงให้เห็นภาพของโครงสร้างการผลิตภายในจังหวัดนั้นๆ ว่ามีโครงสร้างการใช้ปัจจัยการผลิตในแต่ละสาขาเป็นสัดส่วนเท่าใด รวมทั้งบอกถึงสัดส่วนการกระจายผลผลิตของจังหวัดนั้นว่ามีช่องทางการจำหน่ายผลผลิตเพื่อเป็นปัจจัยการผลิตในแต่ละกิจกรรมหรือเพื่อเป็นสินค้าเพื่อการบริโภค (อุปสงค์ขั้นสุดท้าย) ให้แก่ครัวเรือน ภาครัฐบาล และธุรกิจต่างๆ ในท้ายที่สุดแล้วตาราง I/O ระดับจังหวัดยังสามารถสรุปผลได้อีกด้วยว่าจังหวัดนั้นมีศักยภาพในกิจกรรมการผลิตใดบ้าง และกิจกรรมใดที่ควรสนับสนุนหรือควรปรับปรุง ผลการวิเคราะห์สภาวะของเศรษฐกิจการผลิตภายใน 3 จังหวัดและกลุ่มจังหวัดภาคใต้สามารถสรุปศักยภาพภายในแต่ละจังหวัด ในด้านระดับการพึ่งพิงปัจจัยการผลิตภายในจังหวัดสำหรับกิจกรรมการผลิตสินค้าต่างๆ โดยพบว่าแต่ละจังหวัดจะมีกิจกรรมการผลิตที่มีการพึ่งพิงปัจจัยการผลิตภายในจังหวัดที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากทรัพยากรในพื้นที่ประกอบกับทำเลที่ตั้งมีความคล้ายกัน และหากพิจารณาเพิ่มเติมด้านมูลค่าผลผลิตที่แต่ละกิจกรรมผลิตได้ จะทำให้ทราบว่าในแต่ละจังหวัดมีกิจกรรมการผลิตที่มีศักยภาพคล้ายกัน และมีกิจกรรมที่ควรสนับสนุน สำหรับอุตสาหกรรมการบริการหรือการท่องเที่ยวของ 3 จังหวัดก็มีศักยภาพที่ควรสนับสนุนเช่นกันผลของความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจสามารถจำแนกกิจกรรมการผลิตของแต่ละจังหวัดที่ควรเป็นแหล่งอุตสาหกรรมต้นน้ำและอุตสาหกรรมปลายน้ำ ที่ให้การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่มีศักยภาพเพื่อนำรายได้เข้ากลุ่มจังหวัดได้เพิ่มขึ้นดังนี้ อุตสาหกรรมต้นน้ำ การเกษตร การก่อสร้าง การปศุสัตว์ สวนผลไม้ อุตสาหกรรมกลางน้ำ คือ การก่อสร้าง อุตสาหกรรมไม้ อุตสาหกรรมปลายน้ำ คือ อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง ที่พักและร้านอาหาร และสาขากิจกรรมทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับการบริการหรือการท่องเที่ยวเป็นสาขาที่มีความเชื่อมโยงกับสาขากิจกรรมอื่นสูง สามารถส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ในอันดับที่ 4 จาก ทั้งหมด 16 สาขากิจกรรมและมีผลต่อการขยายตัวของระบบทางเศรษฐกิจประมาณ 1.027 ล้านบาท และหากพิจารณาสาขากิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องไม่ว่า ที่พักและร้านอาหาร การขนส่ง และการก่อสร้างมีผลต่อความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจทั้งสิ้นดังนั้นหากมีการสนับสนุนจากนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นระบบภาคการบริการ ซึ่งคืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกลุ่ม 3 จังหวัดภาคใต้ต่อไป | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Rajamangala University of Technology Srivijaya | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยว | en_US |
dc.subject | การกระจายผลผลิต | en_US |
dc.subject | ช่องทางการจำหน่าย | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์ผลทางด้านเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวกลุ่ม 3 จังหวัด | en_US |
dc.title | Economic Impact from 3 Clustering Province of Tourism Industry Analysis | en_US |
dc.type | Research Reports | en_US |
Files in this item
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [20]
รายงานการวิจัย