การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อใช้ควบคุมโรครากขาว (Rigidoporus lignosus) ของยางพารา (Hevea brasiliensis) โดยชีววิธี
Screening of Antagonistic Bacteria for Biocontrol Agent to Control White Root Disease (Rigidoporus lignosus) on Para rubber (Hevea brasiliensis)
View/ Open
Date
2010Author
Chaisit Preecha | ชัยสิทธิ์ ปรีชา
Wethi Wisutthiphaet | เวที วิสุทธิแพทย์
Pornsil Seephueak | พรศิลป์ สีเผือก
Metadata
Show full item recordAbstract
ปัจจุบันโรครากขาวเป็นโรคที่มีการระบาดและก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับสวนยางสูงขึ้น การทดลองครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดโรครากขาว และคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรครากขาว ที่เกิดจากเชื้อ Rigidoporus lignosus จากแหล่งปลูกยางพารารวม 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และ สุราษฎร์ธานี ทำการเก็บตัวอย่างดินและดอกเห็ดมาแยกเชื้อ ทดสอบประสิทธิภาพในการเป็นเชื้อปฏิปักษ์ พบว่ามีแปลงยางที่เกิดโรคทั้งหมด 75 แปลง เป็นแปลงยางเก่า 50 แปลง (66.67%) แปลงยางใหม่ที่ไม่เคยปลูกยางมาก่อน 25 แปลง (33.33%) เมื่อแยกเชื้อ R. lignosus บนอาหาร PDA พบลักษณะเส้นใยค่อนข้างหยาบ มีสีขาวฟู มีผนังกั้นไม่มี clamp connection สปอร์กลม ใส ขนาดเฉลี่ย 10 ไมครอน สร้างดอกเห็ดสีน้ำตาล ส้ม ไม่มีก้านดอก ดอกเห็ดยึดติดกับไม้โดยตรง การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์พบว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์สายพันธุ์ S001, P001, N001 และ T001 รวม 4 สายพันธุ์ จาก 135 สายพันธุ์ มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อสาเหตุได้ดีทั้งในห้องปฏิบัติการ และเรือนทดลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ S001 และ P001 มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้สาร carbendazim และ tridemoph เมื่อทำการจำแนกชนิดของเชื้อปฏิปักษ์ทั้ง 4 สายพันธุ์ โดยใช้ลักษณะทางสัณฐาน และการใช้คาร์บอนจากแหล่ง ต่าง ๆ 49 ชนิด โดยใช้ระบบ API® 50 CHB นำผลที่ได้ไปวิเคราะห์กับฐานข้อมูล Apiweb® จำแนกเป็นเชื้อ Bacillus subtilis หรือ Bacillus amyloliquefaciencs โดยมีระดับเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องในการจำแนก 99.1, 96.4, 98.8 และ 95.3% ตามลำดับ แบคทีเรียปฏิปักษ์ดังกล่าวจึงมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นสูตรสำเร็จเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ต่อไป
Collections
- Research Reports [114]