การออกแบบหุ่นยนต์จัดเรียงแผงไข่ไก่ตามขนาดเบอร์สำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ตำบลเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา
A Design of Robot Arrange Eggs on a Number for Chicken Egg Farmers in Koh Taew, Muang, Songkhla
dc.contributor.author | Arun Sukkaew | อรุณ สุขแก้ว | en_US |
dc.contributor.author | Wimon Boonrawd | วิมล บุญรอด | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-05-26T13:08:08Z | |
dc.date.available | 2021-05-26T13:08:08Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.identifier.uri | https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/2593 | |
dc.description.abstract | ไข่ไก่เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายประเภท จึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจำนวนมาก ซึ่งทำให้ปัจจุบันมีเกษตรกรไม่น้อยที่ประกอบอาชีพในการเลี้ยงไก่ไข่ เทศบาลตำบลเกาะแต้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 การผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร เน้นหนักการผลิตพืชเป็นหลัก โดยมีการผลิตทางด้านปศุสัตว์ ในลักษณะเป็นอาชีพเสริม ได้แก่ โคเนื้อและสัตว์ปีก และในพื้นที่หมู่บ้านเกาะแต้ว บ้านเกาะวา และบ้านชูเกียรติ ประชากรโดยส่วนใหญ่จะเลี้ยงไก่ไข่ และเลี้ยงในพื้นที่ของตัวเองเป็นระบบเปิด รับผิดชอบดูแลกันภายในครอบครัว ใช้ระบบอุตสาหกรรมในการผลิตค่อนข้างน้อย ไข่ไก่ที่ได้จะถูกพ่อค้าคนกลางมารับซื้อเพื่อนำไปจำหน่ายต่อ หรือไปประมูลเพื่อจำหน่ายให้กับห้างร้านหรือบริษัท และบางส่วนชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงจะมาซื้อจากโรงเรือนเพื่อนำไปบริโภค [1] จากการลงพื้นที่สำรวจบริเวณกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ตำบลเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา ขั้นตอนการผลิตหลักๆ อยู่ 7 ขั้นตอนดังนี้ จัดซื้อไก่ไข่มาเลี้ยงไว้ในโรงเรือน ให้อาหารและน้ำ จัดเก็บขี้ไก่ ทำความสะอาดโรงเรือน จัดเก็บไข่ไก่ คัดแยกไข่ไก่ บรรจุไข่ไก่ลงแผง ส่งออกจำหน่าย จากขั้นตอนการผลิตข้างต้นถึงแม้มีหลายกระบวนการหลายขั้นตอนที่ทางกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ตำบลเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา จากการสอบถามความต้องการในกระบวนการผลิต พบว่าประสบปัญหาในกระบวนการคัดแยกไข่ไก่บรรจุลงแผงและจัดเรียงแผงไข่ไก่ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวยังไม่มีระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในการจัดเรียงแผงไข่ไก่ ดังภาพที่ 1 อธิบายได้ว่า “ในส่วนของการคัดแยกไข่ไก่นั้น เริ่มจากการนำไข่ไก่ที่เก็บมาจากโรงเรือนมาจัดไว้บนรางเลื่อนเพื่อเคลื่อนที่ไปสู่การคัดแยกเบอร์ไข่ไก่ ต้องใช้คนงานในการจัดวางด้วยมือเปล่าซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เสียเวลาและเมื่อยล้าแขน และในส่วนของไข่ไก่ที่คัดแยกออกตามขนาดแล้ว จะต้องนำมาบรรจุลงแผงไข่ไก่ให้เต็มแผงตามแต่ละเบอร์แล้วยกไปเก็บไว้ให้เป็นสัดส่วน ซึ่งต้องใช้คนงานในการจัดเก็บด้วยมือเปล่าเหมือนกัน ทำให้เกิดความผิดพลาดโดยการจัดเรียงแผงไข่ไก่ไม่ถูกต้องตามขนาดเบอร์ไข่ไก่ขึ้นได้” | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Rajamangala University of Technology Srivijaya | en_US |
dc.subject | หุ่นยนต์ | en_US |
dc.subject | เกษตรกร | en_US |
dc.subject | ผู้เลี้ยงไก่ไข่ | en_US |
dc.subject | ไข่ไก่ | en_US |
dc.title | การออกแบบหุ่นยนต์จัดเรียงแผงไข่ไก่ตามขนาดเบอร์สำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ตำบลเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา | en_US |
dc.title | A Design of Robot Arrange Eggs on a Number for Chicken Egg Farmers in Koh Taew, Muang, Songkhla | en_US |
dc.type | Research Reports | en_US |
Files in this item
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [42]
รายงานการวิจัย