การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบMIAP รายวิชา ไมโครคอนโทรลเลอร์
Development of Teaching Patterns by Using Student Teams Achievement Divisions (STAD) and Motivation-Information-Application-Progress (MIAP) of Microcontroller Subject
dc.contributor.author | Ruthai Prathoomthong | ฤทัย ประทุมทอง | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-05-26T13:28:48Z | |
dc.date.available | 2021-05-26T13:28:48Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.identifier.uri | https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/2596 | |
dc.description.abstract | การปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีคุณภาพ และจากการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2554-2561) ได้กำหนดเป้าหมายว่าคนไทยต้องคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์[2] ดังนั้นจะเห็นว่าทักษะการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้เกิดแก่ผู้เรียนอย่างเป็นรูปธรรม เพราะผู้ที่มีทักษะการแก้ปัญหาจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมส่วนความคิดสร้างสรรค์จะนำมาใช้เพิ่มศักยภาพในการแก้ปัญหาทำให้มองเห็นทางแก้ปัญหาที่หลากหลายหรือแปลกใหม่ขึ้น แต่จากการศึกษาถึงสภาพปัญหาพบว่าระบบการศึกษาในปัจจุบันยังเป็นระบบบริโภคนิยม ด้วยการดำเนินการศึกษาในลักษณะบริโภคนิยมอย่างชัดเจน ดังเห็นได้ชัดเจนว่า ในหลักสูตรและการสอนนั้น ยังเป็นระบบบริโภคความรู้ บริโภคความเข้าใจ และบริโภคค่านิยมต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ใน สังคม โดยไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้าง ประดิษฐ์ และพัฒนาสิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ให้กับตัวเองและ สังคม ในกระบวนการเรียนการสอน ครูจะเป็นผู้ให้ เป็นผู้บอกให้กับนักเรียน ในขณะที่นักเรียนทำหน้าที่เป็นผู้บริโภคความรู้จากครู แต่กระบวนการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมยังมีไม่เพียงพอ นอกจากไม่สอนให้ผู้เรียนคิด ประดิษฐ์ สร้างสิ่งต่างๆ อย่างมากพอแล้ว ยังสอนให้ทำตามแบบอย่างที่คนอื่นๆ ทำมาโดยไม่สอนให้คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ (Creation) ผู้เรียนจึงขาดการคิดสิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวเองและสังคม[5] ปัญหาที่สะท้อนว่าสังคมไทยในขณะนี้ขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์ คือการลอกเลียนแบบ การละเมิดลิขสิทธิ์ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันที่ชี้ให้เห็นว่าคนไทยไม่ชอบคิดนอกกรอบ ชอบเลียนแบบคนอื่น และไม่สามารถต่อยอดทางความคิดด้วยตนเองได้ เช่นเดียวกับที่ผู้วิจัยประสบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรม เมื่อสั่งงานให้นักศึกษาออกแบบเขียนโปรแกรม ส่วนใหญ่แล้วโปรแกรมที่นักศึกษาเขียนส่งล้วนคัดลอกจากของผู้อื่นทั้งสิ้น ขาดการคิดสิ่งใหม่ ๆ และขาดการสร้างสรรค์จากความคิดของตนเอง | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Rajamangala University of Technology Srivijaya | en_US |
dc.subject | การเรียนการสอน | en_US |
dc.subject | การเรียนรู้แบบร่วมมือ | en_US |
dc.subject | กระบวนการเรียนรู้ | en_US |
dc.subject | มโครคอนโทรลเลอร์ | en_US |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบMIAP รายวิชา ไมโครคอนโทรลเลอร์ | en_US |
dc.title | Development of Teaching Patterns by Using Student Teams Achievement Divisions (STAD) and Motivation-Information-Application-Progress (MIAP) of Microcontroller Subject | en_US |
dc.type | Research Reports | en_US |
Files in this item
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [42]
รายงานการวิจัย