วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินจากการลงทุนเลี้ยงแพะขุนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรัง
Analysis of financial value in investment for fattening goats in community enterprises of Trang province
View/ Open
Date
2018Author
Kannika Buathongrueang | กรรณิกา บัวทองเรือง
Jiratchaya Bunchuay | จิรัชญา บุญช่วย
Metadata
Show full item recordAbstract
การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินจากการลงทุนเลี้ยงแพะขุน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน จังหวัดตรัง เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการเลี้ยงแพะขุน และศึกษาต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่าทางการเงินจากการลงทุนเลี้ยงแพะขุนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรัง ผลการวิจัย พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะขุนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรัง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 35-50 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นับถือศาสนาอิสลาม มีประสบการณ์ เลี้ยงแพะมากกว่า 3 ปี แหล่งที่มาของแพะส่วนใหญ่ซื้อพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ มาจากแหล่งจังหวัดใกล้เคียง สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ พันธุ์ผสม ลักษณะการเลี้ยงแพะในจังหวัดตรังเป็นแบบ โรงเรือนยกพื้นแบบมีร่อง กึ่งขังกึ่งปล่อย แหล่งอาหารของแพะเป็นการผสมระหว่างอาหารส าเร็จรูป และวัตถุดิบจากธรรมชาติ ต้นทุนของการเลี้ยงแพะส่วนใหญ่เป็นต้นทุนด้านโรงเรือน ค่าพันธุ์แพะ ค่า เครื่องสับหญ้า ส่วนค่าใช้จ่ายในการด าเนินงาน ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าแรงงาน ค่าอาหาร ค่ายารักษาโรค ค่าน้ ามันเชื้อเพลิง และค่าวัสดุสิ้นเปลือง ตามล าดับ รายได้ 87 % มาจากการจ าหน่าย เนื้อแพะ ที่เหลือ 13 % มาจากการจ าหน่ายมูลแพะ มีระยะเวลาคืนทุน 1.23 ปี มูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 8,741.50 บาท อัตราส่วนของผลตอบแทนต่อต้นทุน เท่ากับ 1.17 และอัตราผลตอบแทนภายใน เท่ากับร้อยละ 9.40 การลงทุนในโครงการเลี้ยงแพะขุนของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรังมีความคุ้มค่า สามารถยอมรับการลงทุนได้ในเชิงธุรกิจ
Collections
- Research Reports [10]