การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกอนฟล๊อคอบแห้งจากระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับเป็นสารเสริมกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลาน้ำจืด
Product Development from Dried Bio-floc Sediment in aquaculture system as a lmmunostimulants from Freshwater Fish Pathogenically Bacterial
dc.contributor.author | Suwanna Madyod | สุวรรณา หมาดโหยด | en_US |
dc.contributor.author | Supinya Choojai | สุภิญญา ชูใจ | en_US |
dc.contributor.author | Suwanna Pholmai | สุวรรณา ผลใหม่ | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-06-04T14:39:53Z | |
dc.date.available | 2021-06-04T14:39:53Z | |
dc.date.issued | 2018 | |
dc.identifier.uri | https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/2828 | |
dc.description.abstract | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกอนฟลอคอบแห้งจากระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับเป็นสารเสริมกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลาน้ำจืด สุไหลหมาน หมาดโหยด สุวรรณา ผลใหม่ สุภิญญา ชูใจ1 บทคัดย่อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกอนฟลอคอบแห้งจากระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับเป็นสารเสริมกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลาน้ำจืด มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาตะกอนฟล๊อคเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์น้ำรูปแบบผง เม็ด และการทดแทนในสูตรอาหารปลานิล (2) เพื่อศึกษาการตอบสนองของยีนภูมิคุ้มกันจากแบคทีเรียก่อโรคของผลิตภัณฑ์จากตะกอนฟล๊อคผ่านการอบแห้งเสริมสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ผลิตเป็นผงในปลาสวยงาม และเป็นเม็ดในปลาน้ำจืดเศรษฐกิจขนาดเล็ก (3) เพื่อศึกษาการตอบสนองของยีนภูมิคุ้มกันจากแบบทีเรียก่อโรคจากสูตรอาหารสำเร็จรูปที่มีการทดแทนโปรตีนด้วยตะกอนฟล๊อคผ่านการอบแห้งเสริมด้วยสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลานิล ซึ่งผลการทดลองพบว่า ปลานิลที่ได้รับอาหารสำเร็จรูปร่วมกับไบโอฟลอคอบแห้ง อาหารสำเร็จรูปร่วมกับไบโอฟลอคเสริมเบต้ากลูแคลน และอาหารสำเร็จรูปร่วมกับไบโอฟลอคเสริมนิวคลีโอไทด์ ไม่มีการตายเกิดขึ้น (อัตราการตาย 0 % ) และมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสัมพัทธ์เท่ากัน นั่นคือ 100 % ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ตะกอนฟลอคอัดเม็ดต่ออัตราการตายและอัตราการรอดตายสัมพัทธ์ (Relative Percent Survival: PRS) ในปลานิลที่ฉีดเชื้อ Flavobacterium columnare, VETSV01 พบว่า สูตรการทดลองให้อาหารสำเร็จรูปเคลือบผงตะกอนฟลอคผสมเบต้าฯ (1:1) และสูตรการทดลองให้อาหารตะกอนฟลอคอบแห้งอัดเม็ดร่วมกับอาหารสำเร็จรูป (1:1) หลังจากนั้นชักนำให้เกิดการติดเชื้อ Flavobacterium columnare, VETSV01 มีอัตราการตายน้อยแตกต่างกับสูตรการทดลองอื่นๆอีก 5 สูตรอาหารทดลอง แต่ผลการแสดงผลของยีนในระบบภูมิคุ้มกัน พบว่าทุกชุดการทดลองไม่พบการกระตุ้นการแสดงผลของยีนในระบบภูมิคุ้มกันทั้งสามยีน คือ ยีน TNF- α 1, IL-8 และ Complement C3 ในขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ตะกอนฟลอคแบบพัฒนาสูตรอาหาร พบว่า สูตรอาหารทดลองของอาหารมาตรฐานผสมตะกอนฟลอค 5 % ให้ค่าอัตราการตายน้อยสุด คือ 30.00±23.57 และมีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.05) กับทุกสูตรอาหาร และอาหารสำเร็จรูป (ควบคุม) อาหารสูตรมาตรฐานผสมตะกอนฟลอค 0.5% และอาหารมาตรฐานผสมตะกอนฟลอค 1 % เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า ทั้ง 3 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Rajamangala University of Technology Srivijaya | en_US |
dc.subject | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ | en_US |
dc.subject | การเลี้ยงสัตว์น้ำ | en_US |
dc.subject | สารเสริมกระตุ้นภูมิคุ้มกัน | en_US |
dc.subject | เชื้อแบคทีเรีย | en_US |
dc.subject | โรคในปลาน้ำจืด | en_US |
dc.title | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตะกอนฟล๊อคอบแห้งจากระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับเป็นสารเสริมกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในปลาน้ำจืด | en_US |
dc.title | Product Development from Dried Bio-floc Sediment in aquaculture system as a lmmunostimulants from Freshwater Fish Pathogenically Bacterial | en_US |
dc.type | Research Reports | en_US |
Files in this item
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [52]
รายงานการวิจัย