ความชุกของโรคเซอร์โคไวรัสในสุกร (Porcine Circovirus Type2:PCV2) ของฟาร์มสุกรขนาดเล็กในพื้นที่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส
View/ Open
Date
2018Author
Vassakorn Khoployklang | วรรษกร ขอพลอยกลาง
Manta Phumkasemsak | มันตา ภูมิเกษมศักดิ์
Metadata
Show full item recordAbstract
ความชุกของโรคเซอร์โคไวรัสในสุกร ( Porcine Circovirus Type 2: PCV2) ของฟาร์มสุกรขนาดเล็กในพื้นที่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช วรรษกร ขอพลอยกลาง1, มันตา ภูมิเกษมศักดิ์1, ดุสิต เลาหสินณรงค์2 บทคัดย่อ เชื้อเซอร์โคไวรัส (Porcine Circovirus) เป็นไวรัสประเภทมีสารพันธุกรรมชนิดดีเอ็นเอสายเดี่ยว (ssDNA class II) ขนาดประมาณ 1.7 กิโลคู่เบส ไม่มีเปลือกหุ้ม (non-enveloped) ในสกุล Circovirus ของวงศ์ Circoviridae โดยรายงานพบคือ เชื้อเซอร์โคไวรัส ชนิดที่ 1 ไม่ก่อโรคในสุกร และ เชื้อเซอร์โคไวรัส ชนิดที่ 2 สามารถก่อโรคในสุกร ซึ่งก่อความเสียหายอย่างรุนแรงในการอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในประเทศไทย โดยการติดเชื้อเซอร์โคไวรัส ชนิดที่ 2 สามารถแบ่งลักษณะการติดเชื้อตามช่วงอายุแบ่งอาการออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการทรุดโทรมหลังหย่านม (Post Weaning Multisystemic Wasting Syndrome, PMWS) และ.กลุ่มอาการการอักเสบในไตและผิวหนังของสุกร (Porcine dermatitis and nephropathy syndrome, PDNS) โดยเซอร์โคไวรัส ชนิดที่ 2 สามารถติดเชื้อร่วมแบคทีเรียและไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น เกลสเซอร์ (Haemophilus parasuis) สเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โคพลาสมา (Chae, 2016)ไวรัสไข้หวัดสุกร (Arunorat et al., 2016)โรคพีอาร์อาร์เอส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome, PRRS) เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อความรุนแรงของการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น โดยจุดประสงค์การของการศึกษาเพื่อหาความชุกของเชื้อเซอร์โคไวรัสชนิดที่2 ในฟาร์มสุกรขนาดเล็กในพื้นที่อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยตัวอย่างเลือดในสารละลายป้องกันเลือดแข็งจำนวน 100 ตัวอย่าง จาก 13 ฟาร์ม ได้ถูกแบ่งตามรูปแบบการเลี้ยงสามรูปแบบ ได้แก่ ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ฟาร์มสุกรขุนแบบแหล่งเดียว และฟาร์มสุกรขุนแบบหลายแหล่ง ตัวอย่าเลือดได้ตรวจด้วยเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (nested-PCR) โดยใช้ไพรเมอร์จำเพาะต่อ ORF2 ผลการศึกษาพบว่ามีตัวอย่างให้ผลบวกร้อยละ 9 ของตัวอย่างทั้งหมด นอกจากนี้ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความชุกต่อเชื้อเซอร์โคไวรัสชนิดที่2 มากที่สุดในกลุ่มประชากรลูกสุกรอนุบาล และกลุ่มสุกรขุนมีความใกล้เคียงกับกลุ่มแม่พันธุ์ นอกจากการศึกษาทางการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของเชื้อไวรัสควรได้รับการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมต่อไป คำสำคัญ: ไวรัสเซอร์โคชนิดที่ 2, แคพซิด, สุกร, PCV2, ORF2 1อาจารย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช 2อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุขคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
Collections
- Research Reports [52]