Show simple item record

Year-round prevalence study of intestinal parasitic infestations in meat goat in Nakhon Si Thammarat Province

dc.contributor.authorSineenat Kembubpha | สินีนาฎ เข็มบุบผาen_US
dc.contributor.authorKanticha Krewkabpeth | กันติชา แก้วกับเพชรen_US
dc.contributor.authorNijjareeya Sirisriro | นิจจารีย์ญา ศิริศรีโรen_US
dc.date.accessioned2021-06-08T15:34:57Z
dc.date.available2021-06-08T15:34:57Z
dc.date.issued2018
dc.identifier.urihttps://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/2871
dc.description.abstractการศึกษาการติดพยาธิในทางเดินอาหารของแพะเนื้อ ที่เลี้ยงในจังหวัดนครศรีธรรมราชใน 1 ปี สินีนาฎ เข็มบุบผา1นิจจารีย์ญาศิริศรีโร1และกันติชา แก้วกับเพชร2 บทคัดย่อ วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้ เพื่อทำการเก็บข้อมูลความชุกของพยาธิในทางเดินอาหารของกวาง 4 สายพันธุ์ที่เลี้ยงในฟาร์มกวางอินทรีย์ในเขตจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย ในรอบ 1 ปี โดยการเก็บตัวอย่างอุจจาระจากกวางที่เลี้ยงโดยโครงการสวนป่าหนองเขื่อน จังหวัดเพชรบุรี เป็นช่วง รวม 6 ช่วง เพื่อนำมาตรวจหาชนิด จำนวนของไข่ ตัวอ่อนของพยาธิในทางเดินอาหาร โดยวิธีการลอยตัวอย่างง่าย ตกตะกอนอย่างง่าย และการประยุกต์ใช้วิธีแมคมาสเตอร์ เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติมัลติแวเรียนต์ ที่ระดับความน่าเชื่อถือ ค่านัยสำคัญทางสถิติ P < 0.05 การวิจัยนี้ให้ผลพบว่า กวางน้อยกว่า ¼ ของโครงการมีไข่ของพยาธิใบไม้กระเพาะ (Paramphistomum sp.) น้อยกว่า 1% ของกวางตรวจพบพยาธิใบไม้ตับ (Fasciola sp.) และน้อยกว่า 5% ของกวางมีสัตว์เซลล์เดียวในทางเดินอาหาร (Eimeria sp.) ที่ช่วงฤดูกาลต่างกันไป คือ การติดพยาธิตัวแบนในทางเดินอาหารพบมากในช่วงต้น และกลางฤดูฝน (Paramphistomum sp. และ Fasciolasp.) ส่วนการติดสัตว์เซลล์เดียวในทางเดินอาหารพบมากที่สุดในช่วงฤดูร้อน การตรวจหาชนิดพยาธิในครั้งนี้ไม่พบอุบัติการณ์ติดพยาธิตัวกลม เนื่องจากกวางในโครงการทุกตัว ยกเว้นกวางดาวได้รับการถ่ายพยาธิโดยใช้ ไอเวอร์เมคทิน (50 มก./กก.) ทุก 4 เดือน ผลจากงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ความชุกของพยาธิมีมากในช่วงเริ่มทำการศึกษาวิจัย แต่สามารถควบคุมการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดพยาธิได้เมื่อมีการจัดการที่เหมาะสม ทำให้อัตราการตรวจพบไข่ของทั้งพยาธิใบไม้ และสัตว์เซลล์เดียวEimeria sp. จึงลดลงอย่างชัดเจน ด้วยกระบวนการเกี่ยวข้องกับการควบคุมสุขาภิบาลที่เข้มงวด และระบบการจัดการสุขภาพที่ดี ส่งผลให้สภาพร่างกาย ผลผลิต และความต้านทานต่อโรคและพยาธิเพิ่ม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากระบบภูมิคุ้มโรคที่เกิดขึ้นสามารถต่อต้านพยาธิได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาถ่ายพยาธิเพียงอย่างเดียวen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherRajamangala University of Technology Srivijayaen_US
dc.subjectทางเดินอาหารen_US
dc.subjectพยาธิen_US
dc.subjectแพะเนื้อen_US
dc.subjectพยาธิใบไม้ตับen_US
dc.subjectพยาธิใบไม้กระเพาะen_US
dc.subjectไอเมอเรียen_US
dc.titleการศึกษาการติดพยาธิในทางเดินอาหารของแพะเนื้อที่เลี้ยงในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในรอบ 1 ปีen_US
dc.titleYear-round prevalence study of intestinal parasitic infestations in meat goat in Nakhon Si Thammarat Provinceen_US
dc.typeResearch Reportsen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record