dc.contributor.author | Suthikan Kaewkongboon | สุธิกาญจน์ แก้วคงบุญ | en_US |
dc.contributor.author | Supaporn Chairat | สุภาพร ไชยรัตน์ | en_US |
dc.contributor.author | Issaraporn Jaigrajang | อิศราพร ใจกระจ่าง | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-06-22T15:33:19Z | |
dc.date.available | 2021-06-22T15:33:19Z | |
dc.date.issued | 2016 | |
dc.identifier.uri | https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/3163 | |
dc.description.abstract | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ การสื่อสารการตลาดและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางและเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริโภคที่มีประวัติการซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางและเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย จำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างโดยใช้สูตร t-test Independent และสูตรการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) หรือ One-Way ANOVA และการทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติในการทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์อย่างง่าย ของเพียร์สัน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัว ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-30 ปี มีรายได้ต่อเดือน 15,001-20,000 บาท ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว และมีระดับการศึกษาปริญญาตรี 2. การสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์เวชสำอางและเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน มีความคิดเห็นอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.80) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการตลาดโดยตรง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.02) รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการขาย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 3.89) และน้อยที่สุด คือ ด้านการโฆษณา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 3.48) 3. พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางและเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์ประเภท ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า โดยใช้มาเป็นเวลา น้อยกว่า 6 เดือน มีการใช้ผลิตภัณฑ์ทุกวัน เป็นผู้ซื้อด้วยตนเอง และตนเองเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ มีจำนวนเงินในการซื้อต่อครั้งต่ำกว่า 500 บาท โดยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายเครื่องสำอาง สาเหตุในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางและเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร มีระดับความคิดเห็นภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.12) เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อพบว่า ด้านเพื่อเพิ่มความมั่นใจ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.23) รองลงมาคือ ด้านเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.22) และน้อยที่สุด คือ ด้านการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.01) ความคาดหวังในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางและเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร มีระดับความคิดเห็นภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.26) เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อพบว่า ด้านวัตถุดิบสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติที่ปลอดภัย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.50) รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ผ่านการรับรองจาก อ.ย. มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.38) และน้อยที่สุด คือ ด้านตราสินค้าสร้างภาพลักษณ์ที่ดี มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.12) | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Rajamangala University of Technology Srivijaya | en_US |
dc.subject | การสื่อสารทางการตลาด | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการซื้อ | en_US |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง | en_US |
dc.subject | เครื่องสำอาง | en_US |
dc.subject | สมุนไพร | en_US |
dc.subject | ผู้บริโภค | en_US |
dc.title | การสื่อสารทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางและเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช | en_US |
dc.type | Research Reports | en_US |