การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และความเสี่ยงของผู้ประกอบการบ้านนกแอ่น ในจังหวัดกระบี่
Financial Cost-benefit Analysis and Risk of Swiftlets Business Entrepreneurs in Krabi Province
View/ Open
Date
2017Author
Walaiporn Suksomphak | วไลพร สุขสมภักดิ์
Payomporn Raksachon | โพยมพร รักษาชล
Suwattana Puangsuwan | สุวัฒนา พวงสุวรรณ
Metadata
Show full item recordAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการบ้านนกแอ่น ในจังหวัดกระบี่ 2) เพื่อกำหนดกลยุทธ์การจัดการต้นทุนที่เหมาะสมในการผลิตรังนก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการบ้านนกแอ่นในเขตพื้นที่จังหวัดกระบี่ จำนวน 148 คน โดยการใช้สถิติวิธีแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงแบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ Importance Performance Analysis (IPA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการบ้านนกแอ่นส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรี เลี้ยงนกแอ่นเป็นอาชีพเสริม ดำเนินงานมาแล้ว 5-10 ปี ขนาดของบ้านนกประมาณ 2-3 ชั้น ส่วนใหญ่มีจำนวน1 หลัง จะมีรูปแบบบ้านนกเป็นอาคารสร้างใหม่ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีจำนวนนกอาศัยอยู่ประมาณ 1,000 – 2,000 ตัว สามารถเก็บรังนกต่อรอบได้ประมาณ 2-5 กิโลกรัม ซึ่งได้รับราคารังนกเกรด A มากกว่า 25,000 บาท เกรด B มากกว่า 20,000 บาท เกรด C มากกว่า 15,000 บาท เกรด D มากกว่า 10,000 บาท รวมทั้งผู้ประกอบการบ้านนกแอ่นส่วนใหญ่ คิดว่าราคารังนกโดยเฉลี่ยของปี พ.ศ. 2560 เพิ่มขึ้น การศึกษากลยุทธ์การจัดการต้นทุนของผู้ประกอบการบ้านนกแอ่น โดยการวิเคราะห์ Importance Performance Analysis (IPA) พบว่า ระดับความสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ของการจัดการต้นทุนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจัดเรียงลำดับของความสำคัญจากระดับค่าคะแนนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดคือด้านการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.36 ด้านการผลิต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.33 ด้านการตลาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.14 และระดับผลที่ได้รับในการกำหนดกลยุทธ์ของการจัดการต้นทุน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจัดเรียงลำดับของผลที่ได้รับทั้ง 3 ด้าน สามารถเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมจากระดับมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 ด้านการผลิต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.41 ด้านการตลาด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 เมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค IPA พบว่า ด้านการผลิต และด้านการบริหารจัดการ ปรากฏอยู่ใน Quadrants B (Keep up the good Work) เป็นกลยุทธ์ที่เป็นโอกาส ส่วนด้านการตลาด ปรากฏอยู่ใน Quadrants C (Low Priority) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เป็นจุดอ่อน การวิเคราะห์ผลตอบแทนของผู้ประกอบการบ้านนกแอ่น จังหวัดกระบี่ พบว่า แบบอาคารร้างนำมาดัดแปลง มีกำไรสุทธิโดยเฉลี่ยประมาณ 41,345 บาท ต้นทุนผันแปรโดยเฉลี่ยประมาณ 145,664 บาท และต้นทุนคงที่โดยเฉลี่ยประมาณ 3,477,971 บาทจุดคุ้มทุน เท่ากับ 28 กิโลกรัม อัตรากำไรต่อต้นทุน เท่ากับ 0.01% อัตรากำไรต่อยอดขาย เท่ากับ 2.14% อัตราผลตอบแทนจาการเงินลงทุน (ROI) เท่ากับ 1.14% และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) เท่ากับ 1.19% และแบบอาคารสร้างใหม่มีกำไรสุทธิโดยเฉลี่ยประมาณ 41,345 บาท ต้นทุนผันแปรโดยเฉลี่ยประมาณ 145,664 บาท และต้นทุนคงที่โดยเฉลี่ยประมาณ 4,272,637 บาท จุดคุ้มทุน 34 กิโลกรัมอัตรากำไรต่อต้นทุน เท่ากับ 0.01% อัตรากำไรต่อยอดขาย เท่ากับ 2.14% อัตราผลตอบแทนจาการเงินลงทุน (ROI) เท่ากับ 0.94% และอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) เท่ากับ 0.97% การวิเคราะห์ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจบ้านนกแอ่น และแนวทางการจัดการความเสี่ยง ได้แก่ การระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น หลังจากระบุความเสี่ยงแล้ว วัดความเสี่ยงเป็นตัวเลขว่ามีผลกระทบต่อธุรกิจบ้านนกแอ่นมากน้อยเท่าไร โดยประมาณ โอกาสและความถี่ที่ความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อพิจารณาผลกระทบจากความเสี่ยงและจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่มีผลต่อธุรกิจบ้านนกแอ่น ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเสี่ยงของผู้ประกอบการบ้านนกแอ่น ในจังหวัดกระบี่ โดยรวมมีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจัดเรียงลำดับของความเสี่ยงทั้ง 2 ด้านพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมจากระดับมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้ ด้านปัจจัยภายใน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 และความเสี่ยงด้านปัจจัยภายนอก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.14 คำสำคัญ : ต้นทุน ผลตอบแทน ผู้ประกอบการ นกแอ่น รังนก
Collections
- Research Reports [158]