การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการย่อยพลาสติกเหลือใช้จากครัวเรือน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะภายในชุมชนเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา
Development and Improvement of Waste Plastic Crusher Process from Households to Enhance the Efficiency of Waste Management within Community of Khaoroopchang Municipality Songkhla Province
View/ Open
Date
2020Author
Worapong Boonchouytan | วรพงค์ บุญช่วยแทน
Chatree Homkhiew | ชาตรี หอมเขียว
Jaknarin Chatthong | จักรนรินทร์ ฉัตรทอง
Metadata
Show full item recordAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องย่อยพลาสติกเหลือใช้จากครัวเรือน ทดสอบหาขีดความสามารถในการทำงานของเครื่องย่อยพลาสติกเหลือใช้จากครัวเรือน และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา โดยมีการออกแบบสร้างเครื่องให้มีขนาดความกว้าง x ความยาว x ความสูง เท่ากับ 543 x 776 x 1,494 มิลลิเมตร มีชุดใบมีดตัดทั้งหมด 44 ใบ ใช้มอเตอร์ขนาด 7.5 แรงม้า ระบบไฟฟ้า 1เฟส เป็นต้นกำลัง การทดลองการทำงานของเครื่องย่อยพลาสติกเหลือใช้จากครัวเรือน ใช้วัตถุดิบในการทดลอง 3 ชนิดคือ ขวดพลาสติกโค้ก (PET) ขวดพลาสติกสไปรท์ (PET) และ ขวดพลาสติก (PP) นำมาล้างทำความสะอาดแยกฝาขวดพลาสติก และสติกเกอร์ข้างขวดพลาสติกออก และนำมาเข้าเครื่องย่อยพลาสติกเหลือใช้จากครัวเรือน ผลการทดลองพบว่า เครื่องมีประสิทธิภาพในการย่้อยพลาสติกทั้ง 3 ชนิด มีอัตราการย่อยของเครื่องใน 1 ชั่วโมง ดังนี้ ขวดพลาสติกโค้ก (PET) 7.12 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ขวดพลาสติกสไปรท์ (PET) อยู่ที่ 8.82 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และขวดพลาสติก (PP) อยู่ที่ 9.58 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ส่วนการร่อนคัดแยกขนาดจากการย่อย สามารถย่อยขวดพลาสติกให้เป็นเศษที่มีขนาดระหว่าง 6.4 - 9.4 มิลลิเมตร
Collections
- Research Reports [155]