Show simple item record

Influences of preservative methods on voluntary intake, digestibility of the dry matter and organic matter and on ruminal degradation parameters of the dry matter of Ruzi grass (Brachiaria ruziziensis) and Streblus leaves (Streblus asper Lour)

dc.contributor.authorOng-arge Insung | องอาจ อินทร์สังข์en_US
dc.date.accessioned2021-07-23T09:08:19Z
dc.date.available2021-07-23T09:08:19Z
dc.date.issued2009
dc.identifier.urihttps://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/3490
dc.description.abstractการวิจัยนี มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบข้อสงสัยที่ว่าหากจะถนอมพืชอาหารสัตว์ 2 ชนิด ด้วยกรรมวิธีที่ต่างกัน 2 วิธี เพื่อใช้เป็นอาหารแพะจะมีผลทําให้การกินได้และการย่อยได้ของวัตถุแห้งและอินทรีย์วัตถุของพืชแตกต่างกันหรือไม่ และหากใช้เทคนิคในการศึกษาค่าการสลายตัวในกระเพาะรูเมนของโคร่วมด้วย จะสามารถบอกถึงอิทธิพลของกรรมวิธีการถนอมอาหารที่มีต่อค่าการสลายตัวในกระเพาะรูเมนของวัตถุแห้งของชนิดพืชที่ผ่านกรรมวิธีการถนอมที่ต่างกันได้หรือไม่ ซึ่งดําเนินการใน 2 การทดลอง ในการทดลองที่ 1 ทําการถนอมหญ้ารูซี่และใบข่อยที่เก็บในคราวเดียวกันด้วยกรรมวิธีการหมักและการตากแห้ง เพื่อเป็นอาหารทดลอง ดําเนินการทดลองโดยใช้แพะเพศผู้จํานวน 4 ตัว นํ าหนักเฉลี่ย 33.75 + 4.11 กิโลกรัม ให้กินหญ้ารูซี่และใบข่อยที่หมักหรือตากแห้งอย่างใดอย่างหนึ่งในแต่ละช่วงการทดลองนานช่วงละ 14 วัน สลับหมุนเวียนกันไปตามแผนการทดลองแบบ 2 X 2 Factorial experiment in 4x4 Latin Square Design โดยใช้ระยะเวลาในการปรับอาหารในแต่ละช่วงนาน 9 วัน และศึกษาข้อมูลเฉพาะในช่วง5 วันสุดท้ายของแต่ละช่วงการทดลอง โดยให้สัตว์กินอาหารอย่างเต็มที่ (Ad libitum) บันทึกปริมาณอาหารที่ให้ที่เหลือ และนํ าหนักมูลในแต่ละวันของแต่ละช่วงการทดลอง และเก็บตัวอย่างอาหาร และมูลไปทําการศึกษาค่าปริมาณวัตถุแห้ง อินทรีย์วัตถุ คํานวณค่าปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้งและอินทรีย์วัตถุ ผลปรากฎว่า ใบข่อยมีความน่ากินมากกว่าหญ้ารูซี่ จึงมีค่าปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้งและอินทรีย์วัตถุที่สูงกว่า (P<0.01) และสัตว์ชอบกินพืชที่ผ่านกรรมวิธีการตากแห้งมากกว่าการหมัก (P<0.05) แต่กรรมวิธีการถนอมที่ต่างกันไม่มีผลทําให้ปริมาณการกินได้ของอินทรีย์วัตถุ (P>0.05) และการย่อยได้ของทั งวัตถุแห้งและอินทรีย์วัตถุ และอินทรีย์วัตถุเฉลี่ยต่อวัตถุแห้ง (P>0.05) แต่พบว่าการย่อยได้ของอินทรีย์วัตถุที่เฉลี่ยต่อปริมาณวัตถุแห้งที่กินมีความแตกต่างกัน (P<0.01) การทดลองที่ 2 ดําเนินการโดยใช้ตัวอย่างอาหารที่ได้จากการทดลองที่ 1 เพื่อศึกษาค่าการสลายตัวในกระเพาะรูเมน โดยใช้โคนมเพศ เมียที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะรูเมนและติดตั งท่อเปิดแบบถาวรจํานวน 4 ตัว โดยใช้เทคนิคถุงไนล่อนโดยใช้แผนการ ทดลองแบบ Randomized complete block design โดยใช้โคแต่ละตัวเป็นซํ า (block) ปรากฏว่าค่า ‘a’, ‘b’, ‘c’, ‘ed1’, ‘ed2’, ‘ed3’ และค่า Potential degradability ของหญ้ารูซี่ และใบข่อยทั งที่อบแห้ง และหมัก มีความแตกต่างกัน (P<0.01) ซึ่งผลการวิจัยนี แสดงให้เห็นว่าพืชแต่ละชนิดมีความเหมาะสมกับการถนอมด้วยกรรมวิธีที่ต่างกัน ดังนั นใน การกําหนดกรรมวิธีที่จะใช้ในการถนอมอาหารสัตว์แต่ละชนิดจําเป็นต้องพิจารณาถึงชนิดพืชที่เหมาะสมกับแต่ละ กรรมวิธีด้วยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherRajamangala University of Technology Srivijayaen_US
dc.subjectการถนอมen_US
dc.subjectการกินได้en_US
dc.subjectการย่อยได้en_US
dc.subjectหญ้ารูซี่en_US
dc.subjectใบข่อยen_US
dc.titleอิทธิพลของกรรมวิธีการถนอมต่อค่าปริมาณการกินได้ การย่อยได้ของวัตถุแห้ง และ อินทรีย์วัตถุ และต่อค่าการสลายตัวในกระเพาะรูเมนของวัตถุแห้งของหญ้ารูซีและใบข่อยen_US
dc.titleInfluences of preservative methods on voluntary intake, digestibility of the dry matter and organic matter and on ruminal degradation parameters of the dry matter of Ruzi grass (Brachiaria ruziziensis) and Streblus leaves (Streblus asper Lour)en_US
dc.typeResearch Reportsen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record