จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ดินปาล์มน้ำมัน เพื่อการผลิตพีจีพีอาร์ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์
Antagonistic Microbe on Palm Soil for Producing of Plant Growth Promoting Rhizobacteria Yeast and Fungal (PGPR) Mixed Microbe
View/ Open
Date
2020Author
Sukhan Rattanaloeadnusorn | สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์
Metadata
Show full item recordAbstract
การแยกและจำแนกจุลินทรีย์ปฏิปักษ์บนตัวอย่างดินหลังการใช้พีจีพีอาร์ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ วิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ขนาดประมาณ 1,500 คู่เบสของยีน 16S rRNA โดยการใช้โปรแกรม BLASTN เปรียบเทียบกับข้อมูลใน GenBank ของ NCBI ที่มีความมั่นใจมากกว่า 99-100 เปอร์เซ็นต์ และการตรวจสอบลักษณะสัณฐานและทดสอบทางชีวเคมี บริเวณอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย พบจุลินทรีย์ จำนวน 14 สายพันธุ์ คือแอกติโนมัยซิส 1 สายพันธุ์ได้แก่ Streptomyces themodiastatics รา 7 สายพันธุ์ ได้แก่ Micrombacterium paraoxydons, Aspergillus terreus, Aspergillus fumgatus, Aspergillus tamari, Penicillium pennosus, Rhizomucor pusilus และ Trichoderma asperelium แบคทีเรีย 5 สายพันธุ์ได้แก่ Bacillus velezensis, Lactobacillus pentosus, Bacillus subtilis, Bacillus flexus และ Bacillus lichenifermis ยีสต์ 1 สายพันธุ์ ได้แก่ Sacharomyces cerevisiac เมื่อนำจุลินทรีย์ปฏิปักษ์นี้ไปผลิตเป็นนวัตกรรมชีวภาพพีจีพีอาร์ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน (PGPR, plant growth promoting rhizobacteria-yeast and fungal) ตามวิธีของสุกาญจน์ (2560) และนำนวัตกรรมชีวภาพนี้ไปหว่านใต้ต้นปาล์มน้ำมันน้ำหนัก 1 กิโลกรัมต้นปาล์มอายุ 3 ปี และ 2 กิโลกรัมต้นปาล์มอายุ 5 ปีต่อครั้งจำนวน 3 ครั้งต่อปี ปรากฏว่าการเพิ่มน้ำหนักทะลายปาล์มหลังการใช้พีจีพีอาร์ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโนของปาล์มอายุ 3 และ 5 ปี เท่ากับ 128.57±1.0 เปอร์เซ็นต์และ 123.23±1.0 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แสดงว่าจุลินทรีย์ในนวัตกรรมชีวภาพนี้ช่วยเร่งย่อยสลายอินทรียสารให้เป็นสารอาหารในรูปสารประกอบโมเลกุลเล็กและค่อยๆ ปลดปล่อยให้แก่พืช สำหรับเร่งการเจริญเติบโตและเร่งการออกทะลายและเพิ่มน้ำหนักทะลายปาล์มต่อไร่ต่อปี ดังนั้น เกษตรกรชาวสวนปาล์มควรหันมานำนวัตกรรมชีวภาพพีจีพีอาร์ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการเพิ่มน้ำหนักทะลายปาล์มต่อไร่ต่อปี