คุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้องพื้นเมืองตรัง
Nutritional Values of Trang Indigenous Brown Rice
View/ Open
Date
2020Author
Supasit Chooklin | สุภาษิต ชูกลิ่น
Teerapong Muadsri | ธีระพงค์ หมวดศรี
Pakamat Purintrapibal | ผกามาส ปุรินทราภิบาล
Metadata
Show full item recordAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของข้าวกล้องพื้นเมืองจังหวัดตรังเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้าวกล้องพื้นเมืองในจังหวัดตรังประกอบด้วย 7 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวเบายอดม่วง ข้าวลูกปลา ข้าวช่อมุด ข้าวงวงช้าง ข้าวหอยสังข์ ข้าวนางขวิด และข้าวนางเอก ผลการวิเคราะห์ พบว่า ข้าวกล้องแต่ละพันธุ์
มีสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกันโดยองค์ประกอบหลักของข้าวทั้ง 7 สายพันธุ์ คือ ค่าสี L* (ความสว่าง) อยู่ระหว่าง 60.81-66.08 ค่า a* (สีแดง) อยู่ระหว่าง 4.78-6.19 และค่า b* (สีเหลือง) อยู่ระหว่าง 19.45-24.78 และองค์ประกอบเคมี เช่น เถ้า ไขมัน ความชื้น โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตอยู่ระหว่างร้อยละ 1.25-1.75, 1.63-2.41,8.60-11.83, 6.38-8.79 และ 75.42-79.88 ตามลำดับ ส่วนปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดของข้าวกล้องพื้นเมืองทั้ง 7 สายพันธุ์ มีค่าตั้งแต่ร้อยละ 16.53-66.67 และ 0.85-2.45 mg Ferulic Acid/g DW ตามลำดับซึ่งข้าวกล้องพันธุ์เบายอดม่วงมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ดังนั้นข้าวกล้องพันธุ์เบายอดม่วงเหมาะที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพต่อไป