Show simple item record

The Uses of Broken Riceberry and Moringa Leaf Meal in Semi-Free-Range Layer Diets

dc.contributor.authorNitima Chalermsan | ณิฐิมา เฉลิมแสนen_US
dc.contributor.authorJindarat Chaiinsee | จินดารักษ์ ไทรอินทรีย์en_US
dc.contributor.authorWannarat Jantrakul | วรรณรัตน์ จันตระกูลen_US
dc.contributor.authorSasirratron Tongkum | ศศิราธรณ์ ทองคำen_US
dc.contributor.authorKrisada Urit | กฤษฎา อุลิตen_US
dc.contributor.authorTanyarat jaree | ธัญรัตน์ จารีen_US
dc.date.accessioned2020-08-31T05:19:01Z
dc.date.available2020-08-31T05:19:01Z
dc.date.issued2019
dc.identifier.issn2673-0197
dc.identifier.urihttps://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/1051
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ ปลายข้าวไรซ์เบอรี่และใบมะรุม ในอาหารไก่ไข่ที่เลี้ยงแบบกึ่งปล่อยต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ คุณภาพไข่ และจำนวนจุลินทรีย์ในมูลไก่ ใช้แผนการทดลองแบบ 2 × 2 Factorial in CRD โดย Factor A คือ รูปแบบของโรงเรือนที่เลี้ยงไก่แบบกึ่งปล่อย ได้แก่ โรงเรือนมีแสงแดดส่องถึงและโรงเรือนมีร่มเงา Factor B คือ อาหารทดลอง ได้แก่ อาหารไก่ไข่ที่ใช้ปลายข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นแหล่งพลังงานหลักไม่ผสมใบมะรุม และผสมใบมะรุม 6 เปอร์เซ็นต์ แบ่งคอกทดลองโรงเรือนละ 4 คอก แต่ละคอกเลี้ยงไก่ไข่พันธุ์อีซ่าบราวน์ (อายุ 40 สัปดาห์) 23 ตัว รวม 184 ตัว สุ่มไก่ให้ได้รับอาหารทดลอง 2 สูตรๆ ละ 4 คอก เก็บข้อมูลด้านสมรรถภาพการผลิตไข่ และคุณภาพไข่ 2 ช่วงๆ ละ 28 วัน ช่วงท้ายของการทดลองสุ่มเก็บมูลไก่มาเพาะเชื้อ และตรวจนับจำนวนจุลินทรีย์รวม โคลิฟอร์ม ซัลโมเนลลา และจุลินทรีย์กรดแลคติก และสุ่มไข่ไก่แต่ละคอกส่งตรวจหาปริมาณคอเลสเตอรอล และเบต้า-แคโรทีน ผลการทดลองปรากฏว่า การใช้ปลายข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นแหล่งพลังงานหลักร่วมกับผสมใบมะรุมในอาหารไก่ไข่ 6 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เปอร์เซ็นต์การผลิตไข่ต่ำกว่า อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นไข่ 1 กิโลกรัม และต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตไข่ 1 กิโลกรัมด้อยกว่าอาหารที่ใช้ปลายข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นแหล่งพลังงานหลักแต่ไม่ผสมใบมะรุม (p<0.05) ส่วนปริมาณอาหารที่กิน น้ำหนักไข่ ความสูงไข่ขาว ค่า Haugh unit ความหนาเปลือกไข่ จำนวนจุลินทรีย์รวม โคลิฟอร์ม ซัลโมเนลลา และจำนวนจุลินทรีย์กรดแลคติกในมูลไก่ รวมทั้งปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่แดงไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) อย่างไรก็ตามการใช้ปลายข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นแหล่งพลังงานหลักร่วมกับผสมใบมะรุมในอาหารทำให้ไข่มีค่าสีของไข่แดงและปริมาณเบต้า-แคโรทีนในไข่แดงสูงขึ้น ส่วนโรงเรือนที่มีร่มเงาส่งผลต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ดีกว่าที่มีแสงแดดส่องทั่วถึง ทั้งนี้โรงเรือนทั้ง 2 รูปแบบไม่มีอิทธิพลต่อคุณภาพไข่ และจำนวนจุลินทรีย์ในมูลไก่en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherRajamangala University of Technology Srivijayaen_US
dc.subjectการเลี้ยงไก่ไข่en_US
dc.subjectไก่ไข่ที่เลี้ยงแบบกึ่งปล่อยen_US
dc.subjectปลายข้าวไรซ์เบอร์รี่en_US
dc.subjectใบมะรุมen_US
dc.subjectDietsen_US
dc.titleการใช้ปลายข้าวไรซ์เบอร์รี่และใบมะรุมในอาหารไก่ไข่ที่เลี้ยงแบบกึ่งปล่อยen_US
dc.titleThe Uses of Broken Riceberry and Moringa Leaf Meal in Semi-Free-Range Layer Dietsen_US
dc.typeResearch Articleen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record