การคัดแยกแบคทีเรียแลกติกที่มีศักยภาพเป็นโปรไบโอติกจากไก่เบตง
Screening of Potential Probiotic Lactic Acid Bacteria from Be-tong Chicken
View/ Open
Date
2019Author
Saijai Kaew-on | สายใจ แก้วอ่อน
Lakkhana Rakkhaphan | ลักขณา รักขพันธ์
Metadata
Show full item recordAbstract
ความปลอดภัยของอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่เกิดจากการใช้สารปฏิชีวนะและสารเร่งการเจริญเติบโต โปรไบโอติกจึงถูกนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจรวมถึงไก่ด้วย งานวิจัยนี้จึงศึกษาคุณสมบัติการเป็นโปรไบโอติกของแบคทีเรียแลกติกจำนวน 145 ไอโซเลทที่คัดแยกได้จากกระเพาะพัก ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ของไก่เบตง การคัดเลือกเบื้องต้นโดยใช้คุณสมบัติการทนกรด พบ 22 ไอโซเลท ทนต่อกรดพีเอช 2 เป็นเวลา 2 ชั่วโมง โดยมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าร้อยละ 50 เมื่อนำแบคทีเรียเหล่านี้ไปบ่มในระบบกระเพาะอาหารและลำไส้จำลองพบ 13 ไอโซเลท ได้แก่ F/Cr 01007, F/Cr 01008, A/Cr 04002, A/Si 04001, A/Si 04002, A/Si 04014, A/Si 04015, S/Si 04024, A/Li 04008, A/Li 05011, F/Si 06001, A/Cr 07010 และ A/Li 07003 มีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 51.66-88.59 จากนั้นศึกษาความไม่ชอบน้ำเพื่อบ่งชี้การเกาะติดลำไส้ของเซลล์เซอร์เฟส พบ 11 ไอโซเลท มีผลบ่งชี้การเกาะติดลำไส้มากกว่าร้อยละ 90.28 และ 82.89 ในไซลีนและทูลูอีนตามลำดับ เมื่อทดสอบความต้านทานต่อสารปฏิชีวนะพบว่าไอโซเลทที่แสดงคุณสมบัติเด่นในด้านความสามารถรอดชีวิตในระบบทางเดินอาหารจำลองและเซลล์เซอร์เฟสมีความไม่ชอบน้ำสูง ต้านทานสารปฏิชีวนะจำนวน 5-9 ชนิด คือ F/Cr 01007, A/Si 04002, S/Si 04024, A/Li 04008, A/Li 05011, F/Si 06001 และ A/Cr 07010 เมื่อวิเคราะห์ชนิดของแบคทีเรียแลกติกทั้ง 7 ไอโซเลทนี้ โดย 16S rDNA พบว่าแบคทีเรียเหล่านี้มีความคล้ายคลึง Lactobacillus reuteri ร้อยละ 99 ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าแบคทีเรียแลกติก Lactobacillus reuteri ที่คัดแยกได้จากทางเดินอาหารของไก่เบตงสามารถนำไปพัฒนาใช้เป็นโปรไบโอติกได้