การเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ราคาสุกรมีชีวิต
A Comparison of Forecasting Models of Live Swine Price
Abstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ การเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ราคาสุกรมีชีวิต 4 วิธี ได้แก่ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของโฮลต์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของบราวน์ และวิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังที่มีแนวโน้มแบบแดม โดยใช้ราคาสุกรมีชีวิตเฉลี่ยต่อเดือนจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 ถึงเดือนมกราคม 2561 จำนวน 157 ค่า ข้อมูลดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 ถึงเดือนมิถุนายน 2560 จำนวน 150 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ ชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2560 ถึงเดือนมกราคม 2561 จำนวน 7 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบความถูกต้องของตัวแบบพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยต่ำสุดและเกณฑ์รากของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า จากวิธีการพยากรณ์ทั้งหมดที่ได้ศึกษา วิธีที่มีความถูกต้องมากที่สุด คือ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ ซึ่งมีตัวแบบพยากรณ์เป็น
14.png
ด้วยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยเท่ากับ 8.4164 และรากของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยเท่ากับ 5.1719