อาหารและนิสัยการกินอาหารของปลาเวียนในแม่น้ำว้า จังหวัดน่าน
Diet and Feeding Habits of Tor tambroides (Bleeker, 1854) in Wa River, Nan Province
View/ Open
Date
2019Author
Julatat Keereelang | จุลทรรศน์ คีรีแลง
Amornchai Lotongkham | อมรชัย ล้อทองคำ
Chaowalee Jaisuk | เชาวลีย์ ใจสุข
Metadata
Show full item recordAbstract
การศึกษาอาหารและนิสัยการกินอาหารของปลาเวียนในแม่น้ำว้า จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบชนิดของอาหารและนิสัยการกินอาหารของปลาเวียน โดยทำการเก็บตัวอย่างปลาในระหว่างเดือนมีนาคม 2558 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 12 เดือน ได้ตัวอย่างปลาทั้งหมด 136 ตัวอย่าง จากนั้นนำมาศึกษาองค์ประกอบและสัดส่วนของอาหารในกระเพาะอาหาร และอัตราส่วนความยาวลำตัวต่อความยาวทางเดินอาหาร โดยปลามีความยาวอยู่ในช่วง 8.5 - 92.0 เซนติเมตร มีความยาวเฉลี่ย 30.08 ± 15.93 เซนติเมตร ลำไส้มีความยาวอยู่ในช่วง 5 - 205 เซนติเมตร มีความยาวเฉลี่ย 44.85 ± 37.68 เซนติเมตร ผลการศึกษาชนิดและองค์ประกอบของอาหารที่พบในกระเพาะอาหารประกอบด้วย พืชร้อยละ 44.93 สาหร่ายร้อยละ 8.53 หอยร้อยละ 17.95 แมลงร้อยละ 8.05 ตัวอ่อนแมลงน้ำร้อยละ 5.80 กรวดร้อยละ 5.15 ปลาร้อยละ 5.31 และอื่นๆ ร้อยละ 4.27 โดยเมื่อแยกขนาดปลาแล้วพบว่าในระบบทางเดินอาหารของปลาเวียนขนาดเล็กจะพบกลุ่มสาหร่ายมากสุด ปลาขนาดใหญ่พบกลุ่มหอยมากสุด กลุ่มแมลงพบในปลาทุกขนาด และในปลาขนาดใหญ่และขนาดใหญ่มากพบกลุ่มปลามากที่สุด ในฤดูกาลพบว่าฤดูร้อนพบกลุ่มพืชมากที่สุดใน ฤดูฝนพบกลุ่มหอบมากที่สุด และในฤดูหนาวพบกลุ่มสาหร่ายมากที่สุด อัตราส่วนของความยาวปลาต่อความยาวลำไส้เฉลี่ยเท่ากับ 1 : 1.36 ± 0.50 เซนติเมตร มีสมการความสัมพันธ์ระหว่างความยาวเหยียด (TL) กับความยาวลำไส้ (Li) คือ Li = 0.4081TL1.345, r = 0.8924 จากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) พบว่าความยาวลำไส้ของปลาเวียนผันแปรไปตามความยาวของลำตัวปลามาก และจากการศึกษาองค์ประกอบของชนิดอาหาร และอัตราส่วนของความยาวลำตัวต่อความยาวลำไส้ จึงจัดปลาเวียนอยู่ในกลุ่มปลากินพืชและกินเนื้อ