ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ หมู่บ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Environmental Factors Affecting the Growth of Anoectochilus burmanicus Rolfe, Ban Pong Krai, Pong Yang Sub District, Mae Rim District, Chiang Mai Province
View/ Open
Date
2019Author
Perada Kaewthongprakum | พีราดา แก้วทองประคำ
Tipsuda Tangtragoon | ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล
Pathipan Sutigoolabud | ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร
Adisak Kanpington | อดิศักดิ์ การพึ่งตน
Metadata
Show full item recordAbstract
งานวิจัยนี้เป็นการสำรวจและศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟในพื้นที่ป่าบ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ทำการวางแปลงศึกษา แบบเจาะจง 2 แบบ คือ ขนาด 2 × 2 เมตร จำนวน 9 แปลง และขนาด 10 × 10 เมตร จำนวน 1 แปลง ที่ความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ทำการวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล วัดอุณหภูมิของดิน วัดความเข้มแสง ทำการเก็บดินที่ความลึก 0-30 เซนติเมตร นำมาวิเคราะห์คุณสมบัติของดิน ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าความหนาแน่นรวม ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนในดิน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ และปริมาณกำมะถันในดิน สำรวจจำนวนต้นที่พบในแต่ละแปลง หาค่าความหนาแน่น (Density) ของจำนวนต้นต่อหน่วยพื้นที่ บันทึกลักษณะสัณฐานวิทยาบางประการทุกต้น ได้แก่ จำนวนต้น ความสูงลำต้น ความกว้างทรงพุ่ม จำนวนข้อ จำนวนใบ ความกว้างใบ ความยาวใบ จำนวนเส้นใบ จำนวนดอกย่อยต่อช่อดอก ความยาวของช่อดอก นำมาหาค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) จากการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมที่มีผลทางบวกต่อความหนาแน่น (Density) ของจำนวนต้นต่อหน่วยพื้นที่ ได้แก่ ปริมาณไนโตรเจนในดิน ปริมาณแคลเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ ปริมาณกำมะถันในดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดินและความเข้มแสง (p<0.01) ส่วนสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางลบ ได้แก่ ค่าความหนาแน่นรวมของดิน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ (p<0.01) ส่วนค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างสภาพแวดล้อมต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ พบว่าอุณหภูมิของดิน มีผลทางบวกต่อจำนวนข้อของต้น (p<0.01) และความกว้างใบ (p<0.05) ปริมาณไนโตรเจนในดิน มีผลทางลบต่อความยาวก้านช่อดอก (p<0.05) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ มีผลทางบวกต่อจำนวนดอก ความยาวของก้านช่อดอก (p<0.05) มีผลทางลบต่อจำนวนข้อของต้น (p<0.01) ปริมาณโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ มีผลทางบวกต่อจำนวนข้อของต้น (p<0.01) ปริมาณแคลเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ มีผลทางบวกต่อจำนวนข้อของต้น (p<0.01) ความกว้างใบ และจำนวนเส้นใบ (p<0.05) ปริมาณกำมะถันในดิน มีผลทางบวกต่อจำนวนเส้นใบ (p<0.05) จำนวนดอก ความยาวของก้านช่อดอก (p<0.01) ความเป็นกรด-ด่างของดินมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกต่อจำนวนข้อของต้น (p<0.01) จากผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมของป่าดิบเขาที่ไม่ถูกรบกวน ที่ความสูง 1000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ดินมีความเป็นกรด-ด่างปานกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูง ธาตุอาหารในดินอยู่ในระดับปานกลางไปถึงสูง มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ