การศึกษาศักยภาพของเถ้าขี้เลื่อยไม้ยางพารามาใช้ในงานคอนกรีต
The Feasibility study of using Rubber Sawdust in Concrete work
Abstract
งานวิจัยนี้เป้นการศึกษาผลกระทบในด้านกำลังอัดและปริมาณการแทนที่ของเถ้าขี้เลื่อยไม้ยางพาราของมอร์ตาร์โดยนำเถ้าขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่ผ่านการอบน้ำยากันความชื้นและเถ้าขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่ไม่ผ่านการอบน้ำยากันความชื้นแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่1บางส่วนในอัตราร้อยละ10 20 30 40 และ50ดดยน้ำหนักวัสดุประสานทั้งนี้จะแปรเปลี่ยนอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานw(C+R)เท่ากับ0.550,0.610,0.600,0.630,และ0.640ตามลำดับและเปรียบเทียบกับมอร์ตาร์มาตรฐานของปูนซีเมนปอร์ตแลนด์ประเภทที่1โดยนำไปแช่ในน้ำประปาเป็นเวลา3,7,14,28วันตามลำดับผลการสึกษาในด้านการกำลังยัดพบว่ามอร์ตาร์ของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่1ที่ผสมเถ้าขี้เลื่อยไม้ยางพาราทุกส่วนผสมและทุกที่อายุการทดสอบจะให้ค่ากำลังอัดต่ำกว่ามอร์ต้าร์มาตรฐานและเมื่อปริมาณการแทนที่เถ้าขี้เลื่อยไม้ยางพาราร้อยละของวัสดุประสานเพิ่มมากขึ้นจำทำให้ค่ากำลังอักต่ำลงดดยมอร์ต้าร์ที่ผสมเถ้าขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่ผ่านกา่รอบน้ำยากันความชื้นร้อยละ10ของน้ำหนักวัสดุประสาน(R10N)และมอร์ต้าร์ที่ผสมผสานเถ้าขี้เลื่อยไม้ยางพาราทีีไม่ผ่านการอบน้ำยากันความชื้นร้อยละ10ของวัสดุประสาน(R10N)มีค่ากำลังอัดเท่ากับ245.98กก./ซม.2และ245.60กก./ซม.2ใกล้เคียงกับมอร์ตาร์มาตรฐานมากที่สุดหรือคิดเป็นร้อยละกำลังอัดเทียบกับมอร์ต้าร์มาตรฐานเท่ากับ85.93และ58.80ตามลำดับ
Collections
- Research Reports [56]