ความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้ดอกหอมในเขตอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
The diversity of fragrant flower plants at Rattaphoom district in Songkhla province
View/ Open
Date
2010Author
Mookda Suksawat | มุกดา สุขสวัสดิ์
Nicha Prasongchan | ณิชา ประสงค์จันทร์
Supattra Pangkleang | สุพัตรา เพ็งเกลี้ยง
Panita Koachakul | พณิตา คชกูล
Metadata
Show full item recordAbstract
การอนุรักษ์พันธุกรรมไม้ดอกหอมและมุ่งการใช้ประโยชน์พันธุกรรมไม้ดอกหอมอย่างยั่งยืนตามแนวทางพระราชดำริและสอดคล้องกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ได้สำรวจพรรณไม้ดอกหอมในเขตอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เพื่อทราบถึงความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์ไม้ดอกหอมและเป็นแนวทางในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ จำแนกพรรณพืชโดยการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของลำต้น ใบ ดอก ผล พบพรรณไม้ดอกหอม 145 ชนิด 49 วงศ์ และที่พบมากได้แก่ วงศ์ Annonaceae 20 ชนิด รองลงมาได้แก่ Annonaceae 18 ชนิด พืชในวงศ์ Annonaceae มักขึ้นธรรมชาติในสวนผลไม้และสวนยางพารา บางชนิดพบได้ยาก ได้แก่ กลึงกล่อม (Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites) ย่านเลือด (Fissistigma rubiginosum (A.DC.) Merr.) กล้วยหมูสัง (Uvaria grandiflora Roxb. ex Hornem. var.grandiflora) ข้าวหลาม (Goniothalamus marcanii Craib.) และบุหงาลำเจียก (Goniothalamus tapis Miq.) ส่วนไม้ดอกหอมที่พบเห็นโดยทั่วไปทุกตำบล ได้แก่ โมก (Wrightia religiosa Benth.), มะลิลา (Jasminum sambac (L.) Aiton.) และพุดซ้อน (Gardenia augusta (L.) Merrill.) โดยปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ
Collections
- Research Reports [106]