การออกแบบสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อปลูกจิตสำนึกเรื่องการทิ้งขยะลงถังสำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1
Creative design The 3D animations for consciousness of waste into the trash bin grade 1
View/ Open
Date
2018Author
Hatairat Boonnat | หทัยรัตน์ บุญเนตร
Sumana Patharat | สุมนา ปาธะรัตน์
Aneak Sawain | อเนก สาวะอินทร์
Supawat Inkerd | ศุภวัฒน์ อินทร์เกิด
Metadata
Show full item recordAbstract
ในปัจจุบันมลพิษทางสิ่งแวดล้อมทั้งทางน้ำทางอากาศหรือจากขยะและของเสียอันตราย มีจำนวนมากขึ้นแต่ประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักหรือเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น สังเกตได้จากการทิ้งขยะไม่ลงถังหรือการทิ้งขยะลงถังโดยไม่มีการคัดแยก อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวยังจะต้องหาวิธีการแก้ไข เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้สร้างสรรค์จึงมีแนวคิดการใช้สื่อแอนิเมชัน 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เป็นสิ่งถ่ายทอดปัญหามลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยเริ่มจากเด็กและเยาวชน โดยการผลิตสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อปลูกจิตสำนึกเรื่องการทิ้งขยะลงถังสำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้ความรู้ในเรื่องปัญหาขยะมูลฝอย วิธีการแก้ไขปัญหา ณ แหล่งกำเนิด โดยการคัดแยกขยะ เพื่อค้นหาแนวทางในการแสดงออกทางด้านแอนิเมชัน 3 มิติ โดยอาศัยหลักการของแอนิเมชัน ด้วยการนําภาพนิ่งหรือภาพกราฟมาเรียงลําดับกันและแสดงผลอย่างต่อเนื่องทําให้ดวงตาเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวและเพื่อความสวยงามจำเป็นต้องมีหลักขององค์ประกอบทางศิลปะเข้ามาช่วย อาทิ การออกแบบตัวละครที่มีลักษณะแบบทรงกลมทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนโยนและเคลื่อนไหว การใช้โทนสีส้มเป็นสีแห่งความเบิกบานและความรื่นเริงเป็นความรู้สึกที่อิสระ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยทำให้แอนิเมชัน 3 มิติ มีความสมบูรณ์มากขึ้น กล่าวคือทั้งหมดนี้เป็นแรงบันดาลใจและนํามาสู่การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกผ่านผลงานการออกแบบสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อปลูกจิตสำนึกเรื่องการทิ้งขยะลงถังสำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 แอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อปลูกจิตสำนึกเรื่องการทิ้งขยะลงถังสำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นี้ถูกนำไปใช้กับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนเทศบาลในอำเภอกันตัง ซึ่งการศึกษาพบว่า ก่อนดูแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่องนี้เด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไม่สามารถคัดแยกขยะได้แต่หลังจากดูแอนิเมชัน 3 มิติ แล้วเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถในการคัดแยกขยะได้ แต่จะต้องเป็นขยะในชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น ถุงขนม กล่องนม ถุงนม เปลือกลูกอม เนื่องจากเป็นสิ่งที่เด็กคุ้นเคย
Collections
- Research Reports [56]