การศึกษาปริมาณน้ำหลากของลุ่มน้ำโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก พ.ศ. 2575
View/ Open
Date
2020Author
Natapon Kaewthong | ณัฐพล แก้วทอง
Sasimaporn Kaewjunaphan | ศศิมาภรณ์ แก้วจุลพันธ์
Wannisa Suksopha | วรรณิศา สุขโสภา
Metadata
Show full item recordAbstract
การวิเคราะห์ผลกระทบการเกิดปริมาณน้ําหลาก ด้วยแบบจําลองภูมิอากาศ BCCESM RCP45 โดย คาดการณ์ลักษณะภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้โครงการ CMIP5 บริเวณสถานี X.119A สะพานลันตู ลุ่มน้ําโก ลก จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นตําแหน่งตรวจวัดที่สําคัญในการแจ้งเตือนการเกิดน้ําท่วมในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก งานวิจัย นี้ได้ใช้ข้อมูลปริมาณน้ําฝนคาดการณ์รายวันที่ได้ปรับแก้ความถูกต้องโดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ํา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2575 จํานวนทั้งสิ้น 4 สถานี คือ สถานี 583011 สถานี 583013 สถานี 583010 และสถานี 583002 และทําการ วิเคราะห์เปลี่ยนปริมาณน้ําฝนเป็นปริมาณน้ําท่า ด้วยแบบจําลอง HECCHMS ผลการวิจัยพบว่าอัตราการไหลผ่านสถานี X.119A สะพานลันตู ลุ่มน้ําโก-ลก จ.นราธิวาส จากแบบจําลองภูมิอากาศ BCC-ESM RCP4.5 ในปี พ.ศ. 2554-2575 มี ค่าอัตราการไหลสูงสุดประมาณ 294 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งต่ํากว่าค่าอัตราการไหลสูงสุดในปี พ.ศ. 2549-2560 มี อัตราการไหลประมาณ 350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่เมื่อวิเคราะห์จากความถี่ที่ปริมาณน้ําในแม่น้ําโก-ลกล้นตลิ่ง พบว่า ในอนาคตมีความถี่การเกิดน้ําท่วมสูงกว่าช่วงปัจจุบัน และถ้าพิจารณาถึงปริมาณการเกิดน้ําท่าในอนาคตพบว่ามี ปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับปีปัจจุบัน ดังนั้นสิ่งที่น่ากังวลในอนาคตคงไม่ใช่ในมิติเรื่องของอุทกภัย แต่สิ่งที่ต้องตระหนัก ควรจะให้ความสําคัญเรื่องการขาดแคลนน้ําในลุ่มน้ําโก-ลก โดยหน่วยงานภาคราชการ เอกชนและภาคอุตสาหกรรมจึงมี ความจําเป็นต้องพิจารณาเลือกแนวทางในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น อาจมีการดําเนินการสํารองน้ําต้นทุนไว้ใช้ในช่วงฤดู แล้งหรือช่วงสภาวะฝนทิ้งช่วง เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ําที่จะเกิดขึ้นได้
Collections
- Research Reports [56]