การผลิตและคุณสมบัติของปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ในลังโฟม
Production and Properties of Compost from Organic Waste in Foam Box
View/ Open
Date
2019Author
Wanvipa Chaichan | วรรณวิภา ไชยชาญ
Chanika Saenge Chooklin | ฌานิกา แซ่แง่ ชูกลิ่น
Kattinat Sagulsawasdipan | กัตตินาฏ สกุลสวัสดิพันธ์
Cheuyee Porloh | เจ๊ะอูยี เปาะเลาะ
Tappasarn Taemprasit | ทัพพสาร แต้มประสิทธิ์
Metadata
Show full item recordAbstract
งานวิจัยนี้เป็นการผลิตและคุณสมบัติของปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ในลังโฟม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของวัตถุดิบและคุณสมบัติของปุ๋ยหมักที่ได้ ผู้วิจัยเลือกใช้ขยะอินทรีย์ในชุมชน ได้แก่ กากกาแฟ ขี้เค้กจากโรงงานปาล์มน้ามัน และขี้ดินจากโรงงานแปรรูปยางพารา ทาการศึกษาอัตราส่วนกากกาแฟ:ขี้เค้ก:ขี้ดิน 7 อัตราส่วน คือ 3:0:0 0:3:0 0:0:3 1.5:1.5:0 0:1.5:1.5 1.5:0:1.5 และ 1:1:1 ผลการศึกษาคุณสมบัติของวัตถุดิบ พบว่า กากกาแฟ ขี้เค้ก และขี้ดินมีธาตุอาหารหลักที่จาเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงมีความเป็นไปได้ใน การนามาใช้เป็นวัตถุดิบในการหมักปุ๋ย กระบวนการหมักปุ๋ยแบบใช้ออกซิเจนจะเสร็จสมบูรณ์ใช้ในเวลาใน การหมักประมาณ 30 วัน โดยพิจารณาจากอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าการนาไฟฟ้า สาหรับธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมทั้งหมดในปุ๋ยหมักทั้ง 7 อัตราส่วน มีปริมาณอยู่ในช่วง 0.42-3.20 เปอร์เซ็นต์โดยน้าหนัก 0.26-1.20 เปอร์เซ็นต์โดยน้าหนัก และ 0.07-2.17 เปอร์เซ็นต์โดยน้าหนัก ตามลาดับ โดยอัตราส่วนของปุ๋ยหมักที่เหมาะสม คือ อัตราส่วนกากกาแฟ:ขี้เค้ก:ขี้ดิน เท่ากับ 0:3:0 เนื่องจากเป็นอัตราส่วนที่มีปริมาณธาตุอาหารหลักในการเจริญเติบโตของพืชสูงที่สุด ผลการศึกษาคุณสมบัติของปุ๋ยหมักที่ผลิตได้ พบว่า อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้ ผู้วิจัยทาการทดสอบดัชนีการงอกของเมล็ด (Germination Index) พบว่า ปุ๋ยหมักไม่เป็นพิษกับเมล็ดที่นามาทดสอบ ดังนั้น ปุ๋ยหมักที่ผลิตได้จากการหมักกากกาแฟ ขี้เค้กจากโรงงานปาล์มน้ามัน และขี้ดินจากโรงงานแปรรูปยางพาราในลังโฟม สามารถผลิตเป็นวัสดุปรับปรุงคุณภาพดินได้